|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
34,0022,001,<H1>รถการวรรควรรณนาที่ ๒</H1>
|
|
34,0022,002,<H1>อรรถกถาญาตกสูตร</H1>
|
|
34,0022,003,พึงทราบวินิจฉัยในญาตกสูตร แห่งรถการวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
|
|
34,0022,004,<H2>กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม</H2>
|
|
34,0022,005,บทว่า <B>าตโก</B> ได้แก่ ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือ ประชาชนรู้จักกันทั่ว
|
|
34,0022,006,แล้ว ได้แก่ ปรากฏแล้ว. บทว่า <B>อนนุโลมิเก</B> ความว่า กายกรรม ชื่อ
|
|
34,0022,007,ว่า อนนุโลมิกะ เพราะหมายความว่า ไม่เหมาะสมแก่ศาสนา. ในกายกรรม
|
|
34,0022,008,อันไม่เหมาะสมนั้น. บทว่า <B>กายกมฺเม</B> ได้แก่ ในกายทุจริต มีปาณาติบาต
|
|
34,0022,009,เป็นต้น.
|
|
34,0022,010,อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริตนั้นเป็นของหยาบ แก่ภิกษุสามารถจะชักชวน
|
|
34,0022,011,ให้สมาทาน ในกายทุจริตเป็นต้นนี้ได้ คือชักชวนให้สมาทานคือให้ยึดถือใน
|
|
34,0022,012,กรรมเห็นปานนี้ว่า การนอบน้อมทิศทั้งหลายสมควร การทำพลีกรรมให้ภูต
|
|
34,0022,013,ย่อมควร แม้ในวจีกรรม มุสาวาทเป็นต้น เป็นของหยาบ แต่ภิกษุนั้น จะ
|
|
34,0022,014,ชักชวนให้สมาทานในวจีกรรมเห็นปานนี้ ว่า ขึ้นชื่อว่า การพูดเท็จแก่คนโง่
|
|
34,0022,015,นี้ว่าไม่มี เพราะไม่ประสงค์จะให้* ของ ๆ ตนแก่ผู้อื่น ก็ควรพูดได้. แม้ใน
|
|
34,0022,016,มโนกรรม อภิชฌาเป็นต้นก็เป็นของหยาบ แต่ภิกษุเมื่อบอกกัมมัฏฐานผิด
|
|
34,0022,017,พลาดไป ก็ไม่ชื่อว่าชักชวนให้สมาทานในมโนกรรมอันสมควร เหมือนพระ-
|
|
34,0022,018,เถระชาวทักษิณวิหาร ฉะนั้น.
|
|
|