|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
04,0022,001,บทว่า <B>สมฺปชานมุสาวาเท</B> ได้แก่ ในเพราะการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัว
|
|
04,0022,002,แล้วและกำลังรู้.
|
|
04,0022,003,บทว่า <B>วิสํวาทนปุเรกฺขารสฺส</B> ได้แก่ ผู้พูดทำจิตที่คิดจะพูดให้
|
|
04,0022,004,คลาดเคลื่อนไว้เป็นเบื้องหน้า.
|
|
04,0022,005,เจตนายังคำพูดอันนับเนื่องในมิจฉาวาจาให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า <B>วาจา.</B>
|
|
04,0022,006,ท่านแสดงเสียงอันตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น ด้วยคำว่า <B>คิรา.</B>
|
|
04,0022,007,ทางแห่งถ้อยคำ ชื่อว่า <B>พยบถ.</B> ก็วาจานั่นแล ท่านเรียกว่า พยบถ
|
|
04,0022,008,เพราะเป็นแนวทางแม้ของชนเหล่าอื่น ผู้ถึงทิฏฐานุคติ.
|
|
04,0022,009,การเปล่งวาจาที่มีความเข้าใจกันว่าคำพูด ชื่อว่า <B>วจีเภท.</B> วาจามี
|
|
04,0022,010,ชนิดต่าง ๆ กันนั่นเอง ท่านเรียกอย่างนี้ (ว่าวจีเภท).
|
|
04,0022,011,วจีวิญญัตติ ชื่อว่า <B>วิญญัตติที่เป็นไปทางวาจา.</B> ด้วยอาการอย่างนั้น
|
|
04,0022,012,"ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ด้วยบทแรก ท่านพระอุบาลีกล่าวเพียงเจตนาล้วน, ด้วย"
|
|
04,0022,013,๓ บทท่ามกลาง กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยเสียงซึ่งตั้งขึ้นด้วยเจตนานั้น. ด้วย
|
|
04,0022,014,บทเดียวสุดท้าย กล่าวเจตนาที่ประกอบด้วยวิญญัตติ.
|
|
04,0022,015,โวหาร (คำพูด) ของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยเจ้า คือเหล่าพาลปุถุชน
|
|
04,0022,016,ชื่อว่า <B>อนริยโวหาร.</B>
|
|
04,0022,017,พระอุบาลีเถระ. ครั้นแสดงสัมปชานมุสาวาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
|
|
04,0022,018,จะแสดงลักษณะแห่งอนริยโวหาร ที่นับเป็นสัมปชานมุสาวาท ซึ่งกล่าวไว้ใน
|
|
04,0022,019,ที่สุด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า <B>อทิฏฺํ นาม</B> ดังนี้.
|
|
04,0022,020,<h2>[อรรถาธิบายอนริยโวหาร ๘ อย่าง]</h2>
|
|
04,0022,021,ในคำว่า <B>อทิฏฺํ</B> เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบอรรถโดยนัยนี้ว่า
|
|
04,0022,022,ถ้อยคำ หรือ เจตนาเป็นเหตุยังถ้อยคำนั้นให้ตั้งขึ้น ของภิกษุผู้กล่าวเรื่องที่ตน
|
|
04,0022,023,ไม่เห็นอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่า อนริยโวหารอย่างหนึ่ง.
|
|
|