|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
05,0047,001,เมื่อมีความประสงค์ว่า เราจักรับเอาสินไหม ก็เป็นสินใช้เหมือนกัน. แต่ถ้า
|
|
05,0047,002,ภิกษุณีกล่าวว่า ขอให้ท่านปรับไหมผู้นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปรับเอาสินไหมประมาณ
|
|
05,0047,003,๕ มาสก เป็นปาราชิก (แก่ภิกษุณี).
|
|
05,0047,004,แต่เมื่อเขาถามว่า ใครทำ ภิกษุณีควรกล่าวว่า การที่จะพูดว่า คน
|
|
05,0047,005,ชื่อโน้น ไม่สมควรแก่เรา ท่านรู้เอาเองเถิด เพราะพวกเราเพียงแต่ขออารักขา
|
|
05,0047,006,อย่างเดียว ท่านโปรดให้อารักขานั้นแก่พวกเรา และให้นำของที่ถูกลักไปกลับ
|
|
05,0047,007,คืนมา. การขออารักขาไม่เจาะตัวย่อมเป็นอย่างนี้ . การขออารักขาไม่เจาะตัว
|
|
05,0047,008,นั้น ควรอยู่.
|
|
05,0047,009,เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้นแล้ว ถ้าแม้พวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย
|
|
05,0047,010,เหล่านั้น สืบสวนหาตัวผู้ทำแล้ว ทำการปรับไหมแก่คนผู้ทำเหล่านั้น. แม้
|
|
05,0047,011,สมบัติทุกอย่างที่ถูกเจ้าหน้าที่ปรับไหม ไม่เป็นสินใช้ทั้งไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี
|
|
05,0047,012,เลย. แม้เห็นพวกขโมยลักบริขารไปจะกล่าวว่า ขโมย ๆ เพราะต้องการความ
|
|
05,0047,013,พินาศแก่ขโมยเหล่านั้นก็ไม่ควร. จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุณีกล่าวอย่างนั้น ทรัพย์
|
|
05,0047,014,สมบัติที่เจ้าหน้าที่ทำการปรับไหมแก่ขโมยเหล่านั้น แม้ทั้งหมด เป็นสินใช้แก่
|
|
05,0047,015,ภิกษุณี. แต่จะกล่าวกะผู้เชื่อฟังคำของตนว่า ผู้นี้ลักเอาบริขารของเราไป จง
|
|
05,0047,016,ให้นำบริขารนั้นกลับคืนมา และอย่าลงโทษเขา ดังนี้ ควรอยู่.
|
|
05,0047,017,พวกภิกษุณีทำการฟ้องร้องคดี เพื่อประโยชน์แก่ทาสชาย ทาสหญิง
|
|
05,0047,018,และหนองบึงเป็นต้น. คดีนี้ ชื่อว่า อกัปปิยคดี ไม่สมควร.
|
|
05,0047,019,การบอกเจาะตัวปรารภอนาคตเป็นอย่างไร ? คือ เมื่อชนเหล่าอื่นทำ
|
|
05,0047,020,อนาจารเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ภิกษุณีพูดกะพวกเจ้าหน้าที่ผู้
|
|
05,0047,021,รักษากฎหมายอย่างนี้ว่า พวกชาวบ้านทำกรรมนี้และกรรมนี้ ในสำนักของพวก
|
|
05,0047,022,เรา ขอจงให้อารักขาแก่พวกเราเพื่อต้องการไม่ให้ทำต่อไป เมื่อเขาถามว่า
|
|
05,0047,023,ใครทำอย่างนี้ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น อย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัว
|
|
|