tripitaka-mbu / 07 /070049.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
07,0049,001,สองบทว่า <B>ยํ ตุมฺเห</B> ได้แก่ <B>เย ตุมฺเห</B> อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย
07,0049,002,ว่า <B>ยทิ ตุมฺเห</B> จริงอยู่ นิบาต คือ <B>ยํ</B> ใช้ในอรรถแห่ง <B>ยทิ</B> ศัพท์.
07,0049,003,วินิจฉัยในคำว่า <B>อาจริเยสุ</B> เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ ๔ พวกนี้ คือ
07,0049,004,บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์
07,0049,005,แท้ในบทว่า <B>อาจริเยสุ</B> นี้. ภิกษุมีพรรษา ๖ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้
07,0049,006,ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี
07,0049,007,"พรรษา ๔, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้"
07,0049,008,"คือ ภิกษุผู้มีพรรษา ๗ พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา"
07,0049,009,"๘ พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา ๒ ได้, ผู้มีพรรษา ๙ พอเป็นอาจารย์ของผู้"
07,0049,010,มีพรรษา ๓ ได้ ผู้มีพรรษา ๑๐ พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา ๔ ได้ผ่ายภิกษุ
07,0049,011,"ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้"
07,0049,012,ใหญ่กว่า ๑๐ พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ
07,0049,013,ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
07,0049,014,ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น
07,0049,015,ของยื่นออกจากพื้นเท้า.
07,0049,016,<H1>ว่าด้วยเขียงเท้า</H1>
07,0049,017,บทว่า <B>ติณปาทุกา</B> ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.
07,0049,018,บทว่า <B>หินฺตาลปาทุกา</B> ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า
07,0049,019,ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.
07,0049,020,บทว่า <B>กมลปาทุกา</B> ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมล-
07,0049,021,วรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.
07,0049,022,บทว่า <B>กมฺพลปาทุกา</B> ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.