|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
16,0050,001,<B>เสี้ยนหนาม</B> คือไม่มีโจร จริงอยู่ โจรทั้งหลายท่านกล่าวว่าเป็นเสาเขื่อน
|
|
16,0050,002,เพราะอรรถว่ามีสัมผัสกระด้าง เป็นนิมิต เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยแห่ง
|
|
16,0050,003,อันตราย เป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่า ทิ่มเทง. บทว่า <B>อิทฺธํ</B> คือ
|
|
16,0050,004,สำเร็จ. บทว่า <B>ผีตํ</B> คือ อุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพสมบัติ. บทว่า <B>เขมํ</B> คือ
|
|
16,0050,005,ไม่มีภัย. บทว่า <B>สิวํ</B> คือไม่มีอันตราย. บทว่า <B>นิรพฺพุทํ</B> อธิบายว่า เว้นจาก
|
|
16,0050,006,หมู่โจร คือ เว้นจากโจรที่คุมกันเป็นพวก ๆ เที่ยวไป. บทว่า <B>ไม่มีใคร
|
|
16,0050,007,ข่มได้</B> คือ ข้าศึกศัตรูข่มไม่ได้ อธิบายว่า ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะให้
|
|
16,0050,008,เขาหวั่นไหวจากสถานะได้. บทว่า <B>ข้าศึก</B> คือปรารถนาเป็นปฏิปักษ์.
|
|
16,0050,009,บทว่า <B>ศัตรู</B> คืออมิตรที่ทำร้ายตอบ แม้ทั้งสองนั้นก็เป็นไวพจน์ของข้าศึก.
|
|
16,0050,010,บทว่า <B>ข้าศึก ศัตรูภายใน</B> ได้แก่ กิเลสมีราคะเป็นต้นที่ตั้งขึ้นในภายใน
|
|
16,0050,011,บทว่า <B>ข้าศึก ศัตรูภายนอก</B> ได้แก่ พวกสมณะเป็นต้น จริงดังนั้น
|
|
16,0050,012,แม้พวกสมณะ มีเทวทัตและโกกาลิกะเป็นต้น แม้พราหมณ์ มีโสณทัณฑะ
|
|
16,0050,013,และกูฏทัณฑะเป็นต้น แม้เทวดาเช่นท้าวสักกะ แม้มารผู้ติดตามตลอด
|
|
16,0050,014,๗ ปี แม้พรหมมีพกาพรหมเป็นต้น ก็ไม่สามารถจะข่มพระพุทธเจ้าได้
|
|
16,0050,015,ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสกรรม คล้ายกรรม ลักษณะ
|
|
16,0050,016,และอานิสงส์แห่งลักษณะไว้ กรรมอันผู้มีความเพียรมั่นกระทำแล้วสิ้น
|
|
16,0050,017,๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ชื่อว่า กรรม มหาปุริสลักษณะคือมีพระบาท
|
|
16,0050,018,ประดิษฐานไว้ดีแล้ว เกิดขึ้นโดยนัยว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ภาวะ
|
|
16,0050,019,แห่งกรรมอันผู้มั่นคงกระทำแล้ว ชื่อว่า คล้ายกรรม ความเป็นผู้มีพระบาท
|
|
16,0050,020,ประดิษฐานไว้ดีแล้ว ชื่อว่า ลักษณะ ความเป็นผู้อันข้าศึกข่มไม่ได้ ชื่อว่า
|
|
16,0050,021,อานิสงฆ์แห่งลักษณะ.
|
|
16,0050,022,บทว่า <B>พระโบราณกเถระทั้งหลาย กล่าวคาถาประพันธ์ใน</B>
|
|
16,0050,023,พระลักษณะนั้น ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประเภทแห่งกรรม
|
|
|