tripitaka-mbu / 17 /170019.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
17,0019,001,กาลปฐมมหาสังคีติ เป็นเบื้องต้นของมูลปริยายสูตรแม้นั้น. ก็ปฐมมหา-
17,0019,002,สังคีตินี้ ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ
17,0019,003,สุมังคลวิลาสินี. เพราะฉะนั้น ปฐมมหาสังคีตินั้น บัณฑิตพึงทราบ
17,0019,004,โดยนัยที่กล่าวให้พิสดารแล้วในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.
17,0019,005,<H1>อธิบาย เอวมฺเม สุตํ</H1>
17,0019,006,ก็คำว่า <B>เอวมฺเม สุตํ</B> เป็นต้นนี้ เป็นคำเริ่มต้น. บรรดาบท
17,0019,007,เหล่านั้น บทว่า <B>เอวํ</B> เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.
17,0019,008,ในคำว่า <B>อุกฺกฏฺ€ายํ วิหรติ</B> นี้ บัณฑิตพึงทราบการแยกบท โดยนัยนี้
17,0019,009,ก่อนว่า บทว่า <B>วิ</B> เป็นบทอุปสรรค. บทว่า <B>หรติ</B> เป็นบทอาขยาต. แต่
17,0019,010,โดยใจความ <B>เอวํ</B> ศัพท์ มีใจความแยกออกได้หลายอย่างเป็นต้นว่า
17,0019,011,อุปมา อุปเทส สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ นิทัสสนะ
17,0019,012,อวธารณะ.
17,0019,013,จริงอย่างนั้น <B>เอวํ</B> ศัพท์ นี้ มาในอรรถว่า <B>อุปมา</B> ในประโยค
17,0019,014,เป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลเป็นอันมาก อันสัตว์ที่เกิดแล้ว พึงกระทำฉันนั้น
17,0019,015,ดังนี้.
17,0019,016,มาในอรรถว่า <B>อุปเทส</B> ในประโยคเป็นต้นว่า อันท่านพึงก้าวไป
17,0019,017,อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.
17,0019,018,มาในอรรถว่า <B>สัมปหังสนะ</B> ในประโยคเป็นต้นว่า <B>พระผู้มี
17,0019,019,"พระภาคเจ้า</B>ตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้, พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้."
17,0019,020,มาในอรรถว่า <B>ครหณะ</B> ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คนถ่อยนี้กล่าว
17,0019,021,สรรเสริญคุณพระสมณะศีรษะโล้นนั้น อย่างนี้ ๆ ในทุก ๆ ที่ ดังนี้.