|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
17,0025,001,อนึ่ง ในข้อนี้ พระเถระแสดงความไม่โง่เขลา ด้วยคำว่า <B>เอวํ</B>
|
|
17,0025,002,อธิบายว่า ผู้โง่เขลาย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้.
|
|
17,0025,003,ด้วยคำว่า <B>สุตํ</B> พระเถระแสดงความไม่หลงลืมพระพุทธพจน์ที่ได้ฟัง
|
|
17,0025,004,มาแล้ว อธิบายว่า สุตะ ที่ผู้ใดหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมนึกไม่ออกว่าเรา
|
|
17,0025,005,ได้ฟังมาแล้วโดยกาลอื่น. ความสำเร็จแห่งปัญญาของพระเถระนั้น ย่อมมี
|
|
17,0025,006,ได้ เพราะความไม่โง่เขลา ส่วนความสำเร็จแห่งสติ ย่อมมีได้เพราะ
|
|
17,0025,007,ความไม่หลงลืม. บรรดา ๒ อย่างนั้น ความสามารถในการทรงจำ
|
|
17,0025,008,พยัญชนะ มีได้ด้วยสติ มีปัญญาเป็นตัวนำ ความสามารถในการเข้าใจ
|
|
17,0025,009,อรรถ มีได้ด้วยปัญญามีสติเป็นตัวนำ ความสำเร็จเป็นขุนคลังแห่ง
|
|
17,0025,010,ธรรม โดยสามารถในการเก็บรักษาคลัง ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยอรรถ
|
|
17,0025,011,และพยัญชนะมีได้เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น.
|
|
17,0025,012,อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำว่า <B>เอวํ</B> ท่านพระเถระแสดงการทำไว้ในใจ
|
|
17,0025,013,โดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย จะไม่มีการแทง
|
|
17,0025,014,ตลอดประการต่าง ๆ. ด้วยคำว่า <B>สุตํ</B> ท่านแสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ
|
|
17,0025,015,บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะไม่เป็นอันฟัง. จริงอย่างนั้น บุคคลที่มีจิตฟุ้งซ่าน
|
|
17,0025,016,แม้ถูกบอกด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังไม่ถนัด ขอ
|
|
17,0025,017,ท่านพูดอีกที. ก็ในข้อนี้ เพราะการฟังโดยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย
|
|
17,0025,018,บุคคลย่อมยังการตั้งตนไว้โดยชอบ และความเป็นผู้มีบุญทำไว้ในปางก่อน
|
|
17,0025,019,ให้สำเร็จได้ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้ทำบุญไว้ใน
|
|
17,0025,020,ปางก่อน ไม่มีการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
|
|
17,0025,021,บุคคลจึงยังการฟังพระสัทธรรม และการเข้าไปคบสัตบุรุษให้สำเร็จ.
|
|
17,0025,022,จริงอยู่ บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจที่จะฟัง (ธรรมได้) และการฟัง
|
|
|