|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
17,0037,001,ทั้งหลาย) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง และเป็น (วิเสสน-
|
|
17,0037,002,บุพพบทกัมมธารยสมาสว่า) <B>สาโล จ โส เชฏฺกฏฺเน ราชา จ</B>)
|
|
17,0037,003,ต้นสาละนั้นด้วย เป็นราชา เพราะหมายความว่าใหญ่ที่สุดด้วย เพราะเหตุ
|
|
17,0037,004,นั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง. บทว่า <B>มูลํ</B> แปลว่า ใกล้. เพราะว่า
|
|
17,0037,005,มูลศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า <B>ใกล้โคน</B> ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึง
|
|
17,0037,006,ถอนโคน โดยที่สุดแม้มาตรว่า ลำต้นแฝก. มูลศัพท์ ใช้ในเหตุที่ไม่
|
|
17,0037,007,ทั่วไป ในประโยคเป็นต้นว่า ความโลภ เป็นรากเหง้าของอกุศล อนึ่ง
|
|
17,0037,008,มูลศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ใกล้ในประโยคเป็นต้นว่า ในเวลาเที่ยงวันเงาทับตัว
|
|
17,0037,009,ด้วยเหตุทีเงา (ของต้นไม้) จะทับตัวในเวลาเที่ยงวัน และใบไม้หล่น
|
|
17,0037,010,ในเวลาสงัดลม เงาก็จะทับต้นไม้ ใบไม้ก็จะหล่นใกล้ต้นไม้. แต้ในที่นี้
|
|
17,0037,011,มูลศัพท์ท่านประสงค์เอาอรรถว่า <B>สมีปะ</B> (ใกล้) เพราะฉะนั้น พึง
|
|
17,0037,012,ทราบเนื้อความในคำว่า <B>สาลราชมูเล</B> นี้ อย่างนี้ว่า ในที่ใกล้แห่งต้นรังใหญ่.
|
|
17,0037,013,ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าว่า <B>พระผู้มีพระภาคเจ้า</B>ประทับอยู่
|
|
17,0037,014,ใน<B>เมืองอุกกัฏฐา</B>ก่อนไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่า
|
|
17,0037,015,<B>สุภควัน</B> ถ้าว่าประทับอยู่ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ใน<B>ป่าสุภควัน</B>นั้นไซร้ ก็ไม่ควร
|
|
17,0037,016,กล่าวว่า ใน<B>เมืองอุกกัฏฐา.</B> เพราะว่า พระองค์ไม่อาจจะประทับอยู่
|
|
17,0037,017,คราวเดียวกันในที่ ๒ แห่งได้ ตอบว่า ก็แลข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้.
|
|
17,0037,018,เราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้.
|
|
17,0037,019,เพราะฉะนั้น ฝูงโค เมื่อเที่ยวไปใกล้<B>แม่น้ำคงคา</B>และ<B>ยมุนา</B>เป็นต้น
|
|
17,0037,020,ย่อมถูกเรียกว่าเที่ยวไปใกล้<B>แม่น้ำคงคา</B> ใกล้<B>แม่น้ำยมุนา</B>ฉันใด แม้ในที่
|
|
17,0037,021,นี้ก็ฉันนั้น คือ <B>พระผู้มีพระภาคเจ้า</B>เมื่อประทับอยู่ใน<B>ป่าสุภควัน</B>ใกล้
|
|
17,0037,022,<B>เมืองอุกกัฏฐา</B> (และ) ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ ท่านก็เรียกว่า ประทับอยู่
|
|
|