|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
24,0032,001,ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง คำว่า เอกมนฺตํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ
|
|
24,0032,002,ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า <B>อฏฺาสิ</B> ได้แก่ย่อมสำเร็จซึ่งอิริยาบถยืน.
|
|
24,0032,003,จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
|
|
24,0032,004,พระภาคเจ้าผู้ควรเคารพในฐานครู ย่อมยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
|
|
24,0032,005,เพราะความที่คนเป็นผู้ฉลาดในการนั่ง. ก็เทวดานี้เป็นองค์ใดองค์หนึ่ง ใน
|
|
24,0032,006,บรรดาผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน
|
|
24,0032,007,ข้างหนึ่ง ดังนี้. ถามว่า ก็ยืนอยู่อย่างไร จึงชื่อว่า ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
|
|
24,0032,008,ส่วนข้างหนึ่ง. ตอบว่า เว้นโทษของการยืน ๖ อย่าง คือ
|
|
24,0032,009,<B>ยืนไกลเกินไป
|
|
24,0032,010,ยืนใกล้เกินไป
|
|
24,0032,011,ยืนเหนือลม
|
|
24,0032,012,ยืนในที่สูง
|
|
24,0032,013,ยืนตรงหน้าเกินไป
|
|
24,0032,014,ยืนข้างหลังเกินไป</B>
|
|
24,0032,015,จริงอยู่ บุคคลผู้ยืนไกลเกินไปถ้าประสงค์จะพูด ก็จะต้องพูดเสียงดัง
|
|
24,0032,016,ถ้ายืนใกล้เกินไปย่อมจะเบียดเสียดกัน ถ้ายืนเหนือลมย่อมเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัว
|
|
24,0032,017,ถ้ายืนในที่สูงย่อมประกาศถึงความไม่เคารพ ยืนตรงหน้าเกินไปถ้าประสงค์จะ
|
|
24,0032,018,มองก็จะต้องจ้องตากัน ยืนข้างหลังเกินไป ถ้าใคร่จะเห็นหน้าก็จะต้องชะเง้อ
|
|
24,0032,019,คอดู เพราะฉะนั้น แม้เทวบุตรนี้ ก็ยืนเว้นโทษ ๖ เหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น ท่าน
|
|
24,0032,020,จึงกล่าวไว้ว่า <B>เอกมนฺตํ อฏฺาสิ</B> แปลว่า ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ที่ควรส่วน
|
|
24,0032,021,ข้างหนึ่ง.
|
|
24,0032,022,บทว่า <B>เอตทโวจ</B> แยกบทเป็น <B>เอตํ อโวจ</B> แปลว่า ได้กราบทูล
|
|
24,0032,023,คำนี้. บทว่า <B>กถํ นุ</B> เป็นการณปุจฉา.
|
|
|