|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0023,001,<B>พระผู้มีพระภาคเจ้า</B>ก็ฉันนั้น เมื่อทรงแสดงเทศนาอย่างพิสดาร ทรงนำ
|
|
26,0023,002,เทศนาตั้งแต่ชรามรณะอันเป็นยอดแห่งปฏิจจสมุปบาท จนถึงอวิชชาบท
|
|
26,0023,003,ซึ่งเป็นรากเหง้า แสดงวัฏกถาและวิวัฏกถาซ้ำอีกให้จบลงแล้ว.
|
|
26,0023,004,ในคำนั้น พึงทราบวินิจฉัยเนื้อความแห่งชราและมรณะเป็นต้นโดย
|
|
26,0023,005,วิตถารเทศนา ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบวินิจฉัยในชรามรณนิเทศก่อน.
|
|
26,0023,006,ศัพท์ว่า <B>เตสํ เตสํ</B> นี้ โดยย่อพึงทราบว่าเป็นศัพท์แสดงความหมายทั่ว
|
|
26,0023,007,ไปแก่เหล่าสัตว์เป็นอันมาก. จริงอยู่ เมื่อบุคคลกล่าวอยู่แม้ตลอดวันหนึ่ง
|
|
26,0023,008,อย่างนี้ว่า ชรามาถึงพระเทวทัต ชรามาถึงพระโสมทัต สัตว์ทั้งหลาย
|
|
26,0023,009,ย่อมไม่ถึงความแก่รอบทีเดียว แต่ด้วย ๒ บทนี้ สัตว์อะไร ๆ ที่ชื่อว่า
|
|
26,0023,010,ไม่ถูกชรามรณะครอบงำหามีไม่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ศัพท์ว่า
|
|
26,0023,011,<B>เตสํ เตสํ</B> นี้ ว่าโดยย่อเป็นศัพท์แสดงความทั่วไปแก่หมู่สัตว์เป็นอันมาก
|
|
26,0023,012,ดังนี้. ศัพท์ว่า <B>ตมฺหิ ตมฺหิ</B> นี้ เป็นศัพท์แสดงความหมายทั่วไปแก่
|
|
26,0023,013,หมู่สัตว์จำนวนมาก โกยจัดตามคติและชาติ. คำว่า <B>สตฺตนิกาเย</B> เป็น
|
|
26,0023,014,คำแสดงโดยสรุป ถึงความที่ท่านแสดงไว้แล้วในสาธารณนิเทศ. ก็ศัพท์ว่า
|
|
26,0023,015,<B>ชรา</B> ในคำว่า <B>ชรา ชีรณตา</B> เป็นตัน เป็นศัพท์แสดงสภาวธรรม.
|
|
26,0023,016,ศัพท์ว่า ชีรณตา เป็นศัพท์แสดงอาการ. ศัพท์ว่า <B>ขณฺฑิจฺจํ</B> เป็นต้น
|
|
26,0023,017,เป็นศัพท์แสดงกิจในการล่วงกาล. ศัพท์ ๒ ศัพท์สุดท้ายเป็นศัพท์แสดง
|
|
26,0023,018,ความปกติ ก็ด้วยบทว่า <B>ชรา</B> นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชรา
|
|
26,0023,019,แม้โดยความเป็นสภาวธรรม. เพราะเหตุนั้น ศัพท์ว่า <B>ชรา</B> นี้ จึงเป็น
|
|
26,0023,020,ศัพท์แสดงสภาวธรรมแห่งชรานั้น. ด้วยคำว่า <B>ชีรณตา</B> นี้ ทรงแสดง
|
|
26,0023,021,โดยอาการ. เพราะเหตุนั้น ศัพท์ว่า <B>ชรา</B> นี้ จึงเป็นศัพท์แสดงอาการ
|
|
26,0023,022,ของชรานั้น. ด้วยบทว่า <B>ขณฺฑิจฺจํ</B> นี้ ทรงแสดงโดยกิจคือภาวะที่ฟัน
|
|
|