|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0028,001,สั่งสมบาปเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์. ที่ชื่อว่า อุปปัตติภพ ได้แก่ขันธ์ ๕
|
|
26,0028,002,ที่มีใจครองที่บังเกิดด้วยกรรมนั้น. จริงอยู่ กรรมนั้น ท่านเรียกว่าภพ
|
|
26,0028,003,เพราะเกิดขันธ์ ๔ นั้น แม้ในที่ทั้งปวง กล่าวหมายเอากรรมภพและ
|
|
26,0028,004,อุปปัตติภพ ดังนี้ และทั้งสองงนี้ ท่านกล่าวว่ากามภพในที่นี้. ในรูปภพ
|
|
26,0028,005,และอรูปภพก็นัยนี้แล.
|
|
26,0028,006,ใน<H1>อุปาทานนิเทศ</H1> มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
|
|
26,0028,007,ชื่อว่า <B>กามุปาทาน</B> ในคำว่า <B>กามุปาทานํ</B> เป็นต้น เพราะเป็น
|
|
26,0028,008,เหตุยึดถือวัตถุกาม หรือตนเองยึดถือวัตถุกามนั้น กามนั้นด้วย เป็น
|
|
26,0028,009,อุปาทานด้วย ฉะนั้นจึงชื่อกามุปาทาน. การยึดมั่นท่านเรียกว่าอุปาทาน
|
|
26,0028,010,จริงอยู่ อุปศัพท์ในคำว่า <B>อุปาทานํ</B> นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในอุปา-
|
|
26,0028,011,ยาสศัพท์ และอุปกฏฺฐศัพท์เป็นต้น. คำว่า กามุปาทานนี้ เป็นชื่อของความ
|
|
26,0028,012,กำหนัดอันเป็นไปในกามคุณ ๕. ในที่นี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้ แต่เมื่อ
|
|
26,0028,013,ว่าโดยพิสดาร อุปาทานนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วว่า ในอุปาทาน
|
|
26,0028,014,๒ อย่างนั้น กามุปาทานเป็นไฉน. คือ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่
|
|
26,0028,015,ในกามทั้งหลายนั่นเอง.
|
|
26,0028,016,อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า <B>ทิฏฺฐุปาทาน</B>
|
|
26,0028,017,อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า <B>ทิฏฺฐุปาทาน</B> เพราะยึดถือทิฏฐิ หรือเป็นเหตุยึดถือ
|
|
26,0028,018,ทิฏฐิ. จริงอยู่ อุตตรทิฏฐิย่อมยึดถือปุริมทิฏฐิ เจตสิกธรรมทั้งหลายย่อม
|
|
26,0028,019,ยึดถือทิฏฐิด้วยอุตตทิฏฐินี้ เหมือนอย่างที่กล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยง
|
|
26,0028,020,คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเป็นโมฆะ. บทว่า <B>ทิฏฺฐุปาทาน</B> นี้ เป็นชื่อของ
|
|
26,0028,021,สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน และทิฏฐิทั้งปวงที่มีโทษ. ความสังเขป
|
|
26,0028,022,ในข้อนี้มีเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ทิฏฐุปาทาน พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
|
|
|