|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
26,0029,001,แล้วว่าในบรรดาอุปาทานเหล่านั้น ทิฏฐุปาทานเป็นไฉน คือทานที่บุคคล
|
|
26,0029,002,ให้แล้วย่อมไม่มีผล ดังนี้เป็นต้น.
|
|
26,0029,003,อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะยึดมั่นศีลพรตด้วยทิฏฐินั้น
|
|
26,0029,004,"หรือยึดทิฏฐินั้นเสียเอง, ศีลพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น"
|
|
26,0029,005,จึงชื่อว่า <B>สีสัพพตุปาทาน.</B> ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดมั่นว่า ความ
|
|
26,0029,006,บริสุทธิ์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ มีโคศีล และโควัตรเป็นต้น. ในข้อนั้น
|
|
26,0029,007,มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดาร สีสัพพตุปาทานนั้น พึงทราบ
|
|
26,0029,008,โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า ในอุปาทานเหล่านั้น สีลัพพตุปาทานเป็นไฉน.
|
|
26,0029,009,คือความบริสุทธิ์ ด้วยศีลของสมณะและพราหมณ์ ภายนอกพระพุทธ-
|
|
26,0029,010,ศาสนานี้.
|
|
26,0029,011,บัดนี้ ชื่อว่า วาทะ เพราะเหตุกล่าวของเหล่าชน. ชื่อว่า อุปาทาน
|
|
26,0029,012,เพราะเป็นเหตุยึดถือของเหล่าชน. ถามว่า กล่าวหรือยึดถืออะไร. แก้ว่า
|
|
26,0029,013,กล่าวหรือยึดถือตน การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า <B>อัตตวาทุปาทาน.</B>
|
|
26,0029,014,อีกอย่างหนึ่ง เพียงวาทะว่าตนเท่านั้น ชื่อว่า <B>อัตตวาทุปาทาน.</B> อัตต-
|
|
26,0029,015,วาทุปาทานนี้ เป็นชื่อของทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. ในข้อนี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้
|
|
26,0029,016,ส่วนเมื่อว่าโดยพิสดาร อัตตวาทุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วว่า
|
|
26,0029,017,ในอุปาทานเหล่านั้น อัตตวาทุปาทานเป็นไฉน. คือปุถุชนผู้ไม่ได้ฟัง
|
|
26,0029,018,ในพระศาสนานี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย.
|
|
26,0029,019,ใน<B>ตัณหานิเทศ</B> มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
|
|
26,0029,020,คำว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา นี้ เป็นชื่อแห่งตัณหาอันเป็น
|
|
26,0029,021,ไปในชวนวิถีในจักขุทวารเป็นต้น โดยเป็นอารมณ์ เสมือนบิดา เหมือน
|
|
26,0029,022,เป็นชื่อฝ่ายบิดา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า บุตรของเศรษฐี บุตรของ
|
|
|