|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0017,001,องค์ ๘ นี้เท่านั้นแล. ก็อริยมรรคนี้ประเสริฐ เพราะปราศจากโทษทั้งปวง
|
|
30,0017,002,ด้วยว่า พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไปสู่นิพพานด้วยอริยมรรคนี้ ดังนั้น จึงควร
|
|
30,0017,003,กล่าวว่า พรหมยานบ้าง ว่าธรรมยานบ้าง เพราะเป็นธรรมและเป็นยาน
|
|
30,0017,004,ว่ารถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง เพราะไม่มีสิ่งอันยิ่งกว่า และเพราะชนะ
|
|
30,0017,005,สงครามคือกิเลสแล้ว.
|
|
30,0017,006,บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความที่อริยมรรคนั้นไม่มี
|
|
30,0017,007,โทษ และเป็นพิชัยสงคราม จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า <B>ราควินยปริโยสานา</B>
|
|
30,0017,008,ดังนี้ . ในบทนั้น <B>สัมมาทิฏฐิ</B> เมื่อกำจัดราคะย่อมให้หมด คือย่อมถึงได้แก่ย่อม
|
|
30,0017,009,สำเร็จเป็นที่สุด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด. ในบท
|
|
30,0017,010,ทั้งปวงก็นัยนี้แล.
|
|
30,0017,011,บทว่า <B>ยสฺส สทฺธา จ ปญฺา จ</B> ความว่า สำหรับยานคือ อริย-
|
|
30,0017,012,มรรค มีธรรม ๒ เหล่านี้คือศรัทธา ด้วยสามารถแห่งสัทธานุสารี และปัญญา
|
|
30,0017,013,ด้วยสามารถแห่งธัมมานุสารี เป็นแอกมีศรัทธาเป็นทูบ อธิบายว่า ประกอบ
|
|
30,0017,014,ในแอกมีตนเป็นท่ามกลางในอริยมรรคนั้น. บทว่า <B>หิริ อีสา</B> ความว่า หิริ
|
|
30,0017,015,อันเกิดขึ้นภายในพร้อมด้วยโอตตัปปะอันเกิดขึ้นในภายนอกประกอบกับด้วยตน
|
|
30,0017,016,เป็นงอนของรถคือ มรรค. บทว่า <B>มโน โยตฺตํ</B> ความว่า วิปัสสนาจิตและ
|
|
30,0017,017,มรรคจิตเป็นเชือกชัก. เหมือนเชือกที่ทำด้วยปอเป็นต้นของรถ ย่อมกระทำ
|
|
30,0017,018,โคทั้งหลายให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน คือให้รวมกันได้ฉันใด วิปัสสนาจิตอัน
|
|
30,0017,019,เป็นโลกิยะของรถคือมรรคมี ๕๐ กว่า วิปัสสนาจิตอันเป็นโลกุตระ ย่อมทำ
|
|
30,0017,020,กุศลธรรม ๖๐ กว่า ให้เนื่องกันคือให้รวมกันได้ฉันนั้นเหมือนกันแล.
|
|
30,0017,021,เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า <B>มโน โยตฺตํ</B> ดังนี้. บทว่า
|
|
30,0017,022,<B>สติ อารกฺขสารถิ</B> ความว่า สติสัมปยุตด้วยมรรค ชื่อว่า สารถีผู้ควบคุม.
|
|
30,0017,023,ผู้ใดย่อมประกอบในการจัดทูบ หยอดเพลา ส่งรถไป ย่อมกระทำม้าเทียมรถ
|
|
|