|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0018,001,ให้หมดพยศ ผู้นั้นชื่อว่า สารถีผู้รักษาสามารถฉันใด สติของรถคือมรรค
|
|
30,0018,002,ก็ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า สตินี้มีการรักษาเป็นเหตุปรากฏและย่อมพิจารณาคติ
|
|
30,0018,003,แห่งธรรมทั้งหลายทั้งกุศลและอกุศล ดังนี้.
|
|
30,0018,004,บทว่า <B>รโถ</B> ได้แก่ รถคืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘. บทว่า
|
|
30,0018,005,<B>สีลปริกฺขาโร</B> ความว่า รถมีจาตุปาริสุทธิศีลเป็นเครื่องประดับ. บทว่า
|
|
30,0018,006,<B>ฌานกฺโข</B> ความว่า มีเพลาทำด้วยฌาน ด้วยสามารถแห่งองค์ฌาน ๕
|
|
30,0018,007,สัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า <B>จกฺกวีริโย</B> คือมีความเพียรเป็นล้อ อธิบายว่า
|
|
30,0018,008,ความเพียร ๒ กล่าวคือทางกายและทางจิต เป็นล้อของความเพียร. บทว่า
|
|
30,0018,009,<B>อุเปกฺขา ธุรสมาธิ</B> ความว่า สมาธิของทูบ ชื่อว่า ธุรสมาธิ อธิบายว่า
|
|
30,0018,010,ความที่ส่วนของแอกแม้ทั้งสองสม่ำเสมอ เพราะไม่มีอาการขึ้น ๆ ลง ๆ. ฝ่าย
|
|
30,0018,011,ตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ ย่อมนำความที่จิตตุปบาทหดหู่และฟุ้งซ่านไปเสียแล้ว
|
|
30,0018,012,จึงดำรงจิตในท่ามกลางแห่งการประกอบความเพียร เพราะฉะนั้น พระองค์
|
|
30,0018,013,จึงตรัสว่า เป็นธุรสมาธิของรถคือมรรคนี้. บทว่า <B>อนิจฺฉา ปริวารณํ</B>
|
|
30,0018,014,ความว่า ความไม่อยากได้ กล่าวคืออโลภะของรถคืออริยมรรคแม้นี้ ชื่อว่า
|
|
30,0018,015,เป็นประทุน เหมือนหนังราชสีห์เป็นต้น เป็นเครื่องหุ้มภายนอกรถฉะนั้น.
|
|
30,0018,016,บทว่า <B>อพฺยาปาโท</B> ได้แก่ เมตตาและส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.
|
|
30,0018,017,บทว่า <B>อวิหึสา</B> ได้แก่ กรุณาและส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา. บทว่า <B>วิเวโก</B>
|
|
30,0018,018,ได้แก่ วิเวก ๓ อย่างมีกายวิเวกเป็นต้น. บทว่า <B>ยสฺส อาวุธํ</B> ความว่า
|
|
30,0018,019,อาวุธ ๕ อย่าง อย่างนี้ ย่อมมีแก่กุลบุตรผู้ดำรงอยู่ในรถคืออริยมรรค คนยืน
|
|
30,0018,020,อยู่ในรถ ย่อมแทงสัตว์ทั้งหลายด้วยอาวุธ ๕ ไค้ฉันใด แม้โยคาวจร ยืนอยู่
|
|
30,0018,021,ในรถแห่งโลกิยมรรค และโลกุตรมรรคนี้ ย่อมแทงซึ่งโทสะด้วยเมตตา แทง
|
|
30,0018,022,ความเบียดเบียนด้วยกรุณา แทงความคลุกคลีคณะด้วยกายวิเวก แทงคลุกคลี
|
|
30,0018,023,กิเลสด้วยจิตวิเวก และแทงอกุศลทั้งปวงด้วยอุปธิวิเวก ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น
|
|
|