tripitaka-mbu / 35 /350042.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
35,0042,001,อนุรักขนาปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษา
35,0042,002,สมาธินิมิตอันงามที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา (ความสำคัญในศพที่เหลือ
35,0042,003,แต่กระดูก) ปุฬุวกสัญญา (ความสำคัญในศพที่มีหนอนคลาคล่ำ) วินีลกสัญญา
35,0042,004,(ความสำคัญในศพที่มีสีเขียวคล้ำ) วิปุพพกสัญญา (ความสำคัญในศพที่มี
35,0042,005,น้ำเหลืองไหล) วิจฉิททกสัญญา (ความสำคัญในศพที่ฉีกขาด) อุทธุมาตก-
35,0042,006,สัญญา (ความสำคัญในศพที่ขึ้นพอง) นี้เรียกว่า <B>อนุรักขนาปธาน.</B>
35,0042,007,ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปธาน ๔
35,0042,008,<B>สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนา-
35,0042,009,ปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ ปธาน ๔ นี้
35,0042,010,พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ทรง
35,0042,011,แสดงไว้เป็นเครื่องให้ภิกษุผู้มีความเพียร
35,0042,012,ในพระศาสนานี้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์.</B>
35,0042,013,<I>จบสังวรสูตรที่ ๔</I>
35,0042,014,<h1> อรรถกถาสังวรสูตร</h1>
35,0042,015,พึงทราบวินิจฉัยในสังวรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
35,0042,016,ความเพียร ชื่อ <B>ปธาน.</B> ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมจักษุเป็นต้น
35,0042,017,ชื่อ<B>สังวรปธาน.</B> ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้ละกามวิตกเป็นต้น ชื่อ<B>ปหานปธาน.</B>
35,0042,018,ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญสัมโพชฌงค์ ชื่อ<B>ภาวนาปธาน.</B> ความเพียรที่
35,0042,019,เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต ชื่อ<B>อนุรักขนาปธาน.</B> ในบทว่า