|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0033,001,ตัวและคุณเสมอกัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายาม
|
|
39,0033,002,อ่อนและมีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า แม้ในสิกขาบทที่เหลือ
|
|
39,0033,003,ก็นัยนี้ อนึ่ง ในข้อนี้ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมาก
|
|
39,0033,004,ปาณาติบาตเป็นต้น หามีโทษมากเช่นนั้นไม่ เพราะอะไร เพราะทำอันตราย
|
|
39,0033,005,แก่อริยธรรม เหตุทำผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นคนบ้า ในข้อนี้ พึง
|
|
39,0033,006,ทราบวินิจฉัย แม้โดยความมีโทษมาก ด้วยประการฉะนี้.
|
|
39,0033,007,<B>เมื่อว่าโดยประโยค</B> ก็ในข้อนี้ <B> ปาณาติบาตมี ๖ ประโยคคือ
|
|
39,0033,008,สาหัตถิกประโยค อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค ถาวรประโยค
|
|
39,0033,009,วิชชามยประโยค อิทธิมยประโยค.</B>
|
|
39,0033,010,บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย
|
|
39,0033,011,ชื่อว่า <B>สาหัตถิกประโยค</B> สาหัตถิกประโยคนั้น แยกเป็น ๒ คือ สาหัต-
|
|
39,0033,012,ถิกประโยคเจาะจงและสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจง. ในสาหัตถิกประโยคทั้งสอง
|
|
39,0033,013,นั้น เฉพาะสาหัตถิกประโยคเจาะจงบุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรม เพราะความ
|
|
39,0033,014,ตายของคนที่ไปเจาะจงประหารเท่านั้น. ในสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า
|
|
39,0033,015,ผู้ใดผู้หนึ่งจงตายเสียเถิดดังนี้ บุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรมเพราะความตายของ
|
|
39,0033,016,คนใดคนหนึ่ง เหตุการประหารเป็นปัจจัย. อนึ่ง แม้ด้วยสาหัตถิกประโยคทั้ง
|
|
39,0033,017,สอง เขาพอถูกประหารก็ตาย หรือตายด้วยโรคนั้นในภายหลัง บุคคลก็ย่อมผูก
|
|
39,0033,018,พันอยู่ด้วยกรรม ขณะที่เขาถูกประหารเท่านั้น แต่เมื่อบุคคลประหารด้วย
|
|
39,0033,019,ประสงค์จะให้เขาตาย แต่เขาไม่ตายด้วยการประหารนั้น กลับคิดประหารเขา
|
|
39,0033,020,อีก ผิว่า แม้ในภายหลังเขาตายด้วยการประหารครั้งแรก บุคคลก็ย่อมผูกพัน
|
|
39,0033,021,ด้วยกรรมในเวลานั้นเท่านั้น ถ้าว่าเขาตายด้วยการประหารครั้งที่สอง ก็ไม่เป็น
|
|
39,0033,022,ปาณาติบาต แม้เมื่อเขาตายด้วยสาหัตถิกประโยคทั้งสอง บุคคลก็ผูกพันด้วย
|
|
|