|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0015,001,ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น หรือเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง โดยย่อก็มีอยู่ ๔ อย่าง
|
|
45,0015,002,แต่เมือว่าโดยพิสดารก็คือ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้หลายประเภท
|
|
45,0015,003,โดยนัยเป็นต้นว่า จักษุเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่
|
|
45,0015,004,ควรกำหนดรู้ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ต้องละหลายประเภท โดยนัยเป็นต้น
|
|
45,0015,005,ว่า เหตุเกิดของจักษุต้องละ ฯลฯ เหตุเกิดของชราและมรณะต้องละ ๑ ธรรม
|
|
45,0015,006,ทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้แจ้งหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า การดับของจักษุ
|
|
45,0015,007,ต้องทำให้แจ้ง ฯลฯ การดับของชราและมรณะต้องทำให้แจ้ง ๑ ธรรมทั้งหลาย
|
|
45,0015,008,เป็นส่วนต้องทำให้เจริญหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า ปฏิปทาที่มีปกติให้ถึง
|
|
45,0015,009,ความดับแห่งจักษุต้องเจริญ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ต้องเจริญ ๑ ธรรมเหล่านั้น
|
|
45,0015,010,ทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงเสพด้วยอำนาจอารมณ์ ภาวนา
|
|
45,0015,011,และอาเสวนะตามควร. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความ
|
|
45,0015,012,ว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้
|
|
45,0015,013,อีกประการหนึ่ง <B>พระพุทธเจ้า</B>ทรงเสพ ทรงปรารถนาด้วยพระ-
|
|
45,0015,014,มหากรุณาว่า หมวดธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณคือ เป็นภาคแห่ง
|
|
45,0015,015,คุณทีทั่วไป ทำไฉนหนอ หมวดธรรมเหล่านั้นจะพึงดำรงมั่นอยู่ในสันดานของ
|
|
45,0015,016,เวไนยสัตว์. และความปรารถนานั้นของพระองค์ ก็ได้นำผลมาให้สมพระประสงค์.
|
|
45,0015,017,<B>พระพุทธเจ้า</B>จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม
|
|
45,0015,018,ดังพรรณนามาฉะนี้.
|
|
45,0015,019,<B>เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า ทรงเสพ
|
|
45,0015,020,ทรงปรารถนาภาคแห่งคุณ คือ การบรรลุ
|
|
45,0015,021,ไญยธรรมเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
|
|
45,0015,022,สัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า
|
|
45,0015,023,ภควา.</B>
|
|
|