|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0041,001,"แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อ. มีความหมายว่า มม (ของเรา, ของข้าพเจ้า, ของฉัน, "
|
|
45,0041,002,ของข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลาย
|
|
45,0041,003,จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด. แต่ในที่นี้ประกอบในอรรถ ๒ อย่าง
|
|
45,0041,004,คือ อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว และการฟังมาของข้าพเจ้า ก็ในที่นี้ เม ศัพท์
|
|
45,0041,005,ทั้ง ๓ อย่าง แม้ถ้าจะปรากฏในความหมายอย่างเดียวกัน เพราะในเมื่อ
|
|
45,0041,006,ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลใดไม่ใช่บุคคลอื่น บุคคลนั้นก็คือตัวเราก็กลับ
|
|
45,0041,007,เป็นไปในสันดานของตนกล่าวคือเกิดภายในตนไซร้ ถึงกระนั้น เม ศัพท์
|
|
45,0041,008,นั้นก็ยังมีความหมายที่แตกต่างกันนี้อยู่แล กล่าวคือ แตกต่างกันโดยเป็น
|
|
45,0041,009,ตติยาวิภัตติและจตุตถีวิภัตติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เม ศัพท์
|
|
45,0041,010,ปรากฏในความหมาย ๓ อย่าง.
|
|
45,0041,011,<H1>อธิบาย สุตะศัพท์</H1>
|
|
45,0041,012,สุตะ ศัพท์ ในบทว่า <B>สุตํ</B> นี้ ที่มีอุปสรรคก็มี ที่ไม่มีอุปสรรคก็มี
|
|
45,0041,013,แตกต่างโดยความหมายเป็นอเนกมีอาทิ คือ คมนะ. (การไป) วิสสุตะ (ฟัง)
|
|
45,0041,014,"กิลินนะ (เปียกชุ่ม) อุปจิตะ (สั่งสม) อนุยุตตะ (ตามประกอบ, บำเพ็ญ)"
|
|
45,0041,015,สุตวิญเญยยะ (รู้ได้ทางโสตะ) โสตทสารานุสาริวิญญาตะ (รู้ได้ตามกระแส
|
|
45,0041,016,แห่งโสตทวาร) อธิบายว่า อุปสรรคเป็นตัวขยายกิริยา (ให้มีความหมาย)
|
|
45,0041,017,พิเศษออกไปก็จริง ถึงกระนั้น เมื่ออุปสรรคนั้น แม้มีอยู่ เพราะขยายความ
|
|
45,0041,018,ให้ สุตะ ศัพท์นั่นแล ก็ยังกล่าวถึงความหมายนั้น ๆ อยู่ เพราะเหตุนั้น
|
|
45,0041,019,ในการยกความหมายของ สุตะ ศัพท์ที่ไม่มีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง)
|
|
45,0041,020,ท่านจึงยกเอาสุตะศัพท์ทีมีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง) ด้วย. ในสุตะศัพท์
|
|
45,0041,021,นั้นมีความหมายดังต่อไปนี้
|
|
45,0041,022,๑. มีความหมายว่า ไปในประโยคเป็นต้นว่า ไปในกองทัพ.
|
|
|