|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0043,001,พึงทราบวินิจฉัยในบททั้ง ๓ นี้อย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ อิติ ศัพท์นั้น
|
|
45,0043,002,พึงเป็นศัพท์ที่อมความหมายของ สุต ศัพท์ไว้ และพึงเป็นศัพท์ที่ขยายความ
|
|
45,0043,003,ของกิริยาคือ การฟัง ฉะนั้น บทว่า <B>อิติ</B> จึงแสดงถึงหน้าที่ของวิญญาณเป็นต้น.
|
|
45,0043,004,บทว่า <B>เม</B> แสดงถึงบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว. แม้ทุกพากษ์
|
|
45,0043,005,(ทุกประโยค) จึงประกอบด้วยความหมายของ <B>เอวํ</B> ศัพท์นั่นเอง เพราะมี
|
|
45,0043,006,อวธารณะเป็นผล. ด้วยเหตุนั้น บทว่า <B>สุตํ</B> จึงเป็นคำแสดงถึงการรับเอามา
|
|
45,0043,007,ไม่บกพร่อง และไม่ผิดพลาดเพราะปฏิเสธภาวะ คือ การไม่ได้ฟัง. เปรียบ-
|
|
45,0043,008,เหมือนว่า สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วย่อมควรเป็นสิ่งที่จะพึงพูดว่า ได้ฟังมาแล้วฉันใด
|
|
45,0043,009,การฟังมาด้วยดีนั้น จึงเป็นการรับเอามาไม่บกพร่อง และเป็นการรับเอามา
|
|
45,0043,010,ไม่ผิดพลาด ฉันนั้นดังนี้. อีกประการหนึ่ง (พึงทราบว่า) ศัพท์ ย่อมบอก
|
|
45,0043,011,ความหมาย โดยไม่ให้หลงไปในความหมายของศัพท์อื่น. เพราะเหตุที่ บทว่า
|
|
45,0043,012,<B>สุตํ</B> นี้ มีความหมายดังนี้ว่า ไม่ได้ฟังมาหามิได้ ฉะนั้น บทว่า <B>สุตํ</B> จึงชื่อว่า
|
|
45,0043,013,แสดงการรับเอามาไม่บกพร่อง และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะ คือ การ
|
|
45,0043,014,ไม่ได้ฟัง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ เราไม่ได้เห็นเอง
|
|
45,0043,015,ไม่ได้ทำให้แจ้ง ด้วยสยัมภูญาณ หรือไม่ใช่ได้มาโดยประการอื่น และการ
|
|
45,0043,016,ฟังนั้นก็เป็นการฟังด้วยดีทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง อิติ ศัพท์ ที่มีอวธารณะเป็น
|
|
45,0043,017,อรรถ (ความหมายห้ามเนื้อความอื่น) มีการ (อธิบาย) ประกอบความดัง
|
|
45,0043,018,พรรณนามานี้ เพราะเหตุนั้น สุตะศัพท์ ซึ่งเพ่งถึง อิติ ศัพท์นั้น จึงมี
|
|
45,0043,019,ความหมายว่า กำหนด (แน่นอน) เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบการที่สุตะ
|
|
45,0043,020,ศัพท์ ปฏิเสธภาวะคือการไม่ได้ฟัง และการที่สุตะศัพท์แสดงการรับเอามา
|
|
45,0043,021,ไม่บกพร่องและไม่วิปริต.
|
|
45,0043,022,นักศึกษาพึงเห็นว่า ท่านแต่งอรรถโยชนา ของบททั้ง ๓ (<B>เอวมฺเม</B>
|
|
|