|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0044,001,<B>สุตํ</B>) ด้วยอำนาจเหตุแห่งการฟังและความแปลกกันแห่งการฟังดังพรรณนามา
|
|
45,0044,002,นี้. อนึ่ง บทว่า <B>อิติ</B> ชื่อว่า ประกาศถึงภาวะคือความเป็นไปในอารมณ์มี
|
|
45,0044,003,ประการต่าง ๆ เพราะวิญญาณวิถีทีเป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารรับเอาอรรถ
|
|
45,0044,004,และพยัญชนะต่าง ๆ กัน เพราะทำการอธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีความหมาย
|
|
45,0044,005,ถึงอาการ. บทว่า <B>เม</B> ประกาศถึงตน. บทว่า <B>สุตํ</B> ชื่อว่า ประกาศถึงธรรม
|
|
45,0044,006,เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็นอารมณ์.
|
|
45,0044,007,ก็ในบทนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ.) มิได้
|
|
45,0044,008,ทำสิ่งอื่น คือ ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมนี้ ด้วยวิญญาณวิถีที่เป็นไปในอารมณ์มี
|
|
45,0044,009,ประการต่าง ๆ อันเป็นตัวเหตุ. อนึ่ง บทว่า <B>อิติ</B> ชื่อว่า ประกาศถึงสิ่งที่ได้
|
|
45,0044,010,แสดงมาแล้ว เพราะสิ่งที่จะพึงแสดงก็ไม่มีภาวะที่จะพึงแสดง (อีก) เพราะ
|
|
45,0044,011,อธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า
|
|
45,0044,012,ท่านเท้าถึงสูตรทั้งหมดด้วยอิติศัพท์. บทว่า <B>เม</B> ประกาศถึงบุคคล บทว่า
|
|
45,0044,013,<B>สุตํ</B> ประกาศถึงกิจของบุคคล. ก็กิริยาคือการฟังที่ได้มาด้วยเสียงที่ได้ยินมา
|
|
45,0044,014,เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับสวนวิญญาณ (วิญญาณในการฟัง) ก็ในธรรมประพันธ์
|
|
45,0044,015,(การเอ่ยถึงธรรม) ที่ประกอบด้วยการกล่าวถึงบุคคลนั้น ย่อมได้กิริยา คือ
|
|
45,0044,016,การฟัง. บทนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) จักแสดงอ้าง
|
|
45,0044,017,สูตรใด สูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
|
|
45,0044,018,อนึ่ง บทว่า <B>อิติ</B> เป็นบทมีการรับเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ
|
|
45,0044,019,กัน เพราะความเป็นไปแห่งจิตสันดานใดที่มีอารมณ์ต่าง ๆ กัน . บทว่า <B>อิติ</B>
|
|
45,0044,020,ก็แสดงถึงอาการต่าง ๆ กัน แห่งจิตสันดานนั้น เพราะทำอธิบายว่า อิติศัพท์
|
|
45,0044,021,มีความหมายถึงอาการ. ด้วยว่าศัพท์ อิติ นี้ ชื่อว่า เป็นการบัญญัติถึงอาการ
|
|
45,0044,022,เพราะธรรมทั้งหลายมีสภาวะที่จะต้องบัญญัติ โดยอาศัยอาการคือความเป็นไป
|
|
45,0044,023,นั้น ๆ. บทว่า <B>เม</B> แสดงถึงกัตตา. บทว่า <B>สุตํ</B> แสดงถึงอารมณ์. เพราะ
|
|
|