|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
46,0042,001,บาทคาถาว่า <B>ยสฺสนตรโตโต น สนฺติ โกปา</B> ความว่า ความโกรธ
|
|
46,0042,002,ย่อมไม่มีในใจของผู้ใด เพราะความโกรธนั้น ท่านถอนขึ้นเสียแล้วด้วยมรรค
|
|
46,0042,003,ที่ ๓.
|
|
46,0042,004,ก็เพราะเหตุที่สมบัติ ชื่อว่า ภวะ วิบัติชื่อ วิภวะ อนึ่ง ความเจริญ
|
|
46,0042,005,ชื่อว่า ภวะ ความเสื่อมชื่อว่า วิภวะ ความเที่ยงชื่อว่า ภวะ ความขาดสูญ
|
|
46,0042,006,ชื่อว่า วิภวะ บุญชื่อว่า ภวะ บาปชื่อว่า วิภวะ เมื่อว่าโดยใจความแล้ว
|
|
46,0042,007,ทั้งวิภวะทั้งอภวะก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง ฉะนั้น ในคำว่า <B>ภวาภวตญฺจ
|
|
46,0042,008,วีติวตฺโต</B> นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นชื่อว่า ล่วงความเสื่อม
|
|
46,0042,009,และความเจริญ มีประการเป็นอเนก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจ
|
|
46,0042,010,แห่งสมบัติ วิบัติ ความเจริญ ความเสื่อม ความเที่ยง ความขาดสูญ บุญ
|
|
46,0042,011,และบาป ด้วยมรรคทั้ง ๔ โดยนัยนั้น ๆ ตามสมควรแก่เหตุ.
|
|
46,0042,012,ก็ในข้อว่า <B>ยสฺส วิตกฺกา</B> เป็นต้นนี้ มีอธิบายว่าภิกษุใด พิจารณา
|
|
46,0042,013,เห็นโทษในวิตกนั้น ๆ แล้วกำจัดคือทำให้สงบ ได้แก่เผาผลาญ วิตก ๙ อย่าง
|
|
46,0042,014,คือ :-
|
|
46,0042,015,วิตก ๓ อย่าง คือ
|
|
46,0042,016,๑. กามวิตก (ความดำริในทางกาม)
|
|
46,0042,017,๒. พยาบาทวิตก (ความดำริในการปองร้าย)
|
|
46,0042,018,๓. วิหิงสาวิตก (ความดำริในการเบียดเบียน)
|
|
46,0042,019,วิตก ๓ อย่าง คือ
|
|
46,0042,020,๑. ญาติวิตก (การคิดกังวลถึงญาติ)
|
|
46,0042,021,๒. ชนปทวิตก (การคิดกังวลถึงชนบท)
|
|
46,0042,022,๓. อมรวิตก (การคิดกังวลถึงความไม่ตาย)
|
|
|