|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
46,0044,001,ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?
|
|
46,0044,002,ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุใดตกไปอยู่ในอุทธัจจะ
|
|
46,0044,003,ด้วยการปรารภความเพียรจัด ชื่อว่า ย่อมแล่นเลยไป เมื่อตกไปในโกสัชชะ
|
|
46,0044,004,ด้วยความเพียรที่หย่อนเกินไป ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ อนึ่ง เมื่อทำตนให้ลำบาก
|
|
46,0044,005,ด้วยภวตัณหา ชื่อว่า ย่อมแล่นเลยไป เมื่อประกอบกามสุขอยู่ด้วยกามตัณหา
|
|
46,0044,006,ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ ด้วยสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่าย่อมแล่นเลยไป ด้วยอุทเฉททิฏฐิ
|
|
46,0044,007,ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ เมื่อเศร้าโศกถึงอดีตอยู่ ชื่อว่าย่อมแล่นเลยไป เมื่อเพ้อหวัง
|
|
46,0044,008,อนาคตอยู่ ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ ด้วยปุพพันตานุทิฏฐิ ชื่อว่าย่อมแล่นเลยไป
|
|
46,0044,009,ด้วยอปรันตานุทิฏฐิ ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเว้นที่สุด ๒ อย่าง
|
|
46,0044,010,นี้ได้แล้ว ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทาอยู่ ชื่อว่าไม่แล่นเลยไปและไม่ล้าอยู่.
|
|
46,0044,011,บาทคาถาว่า <B>สพฺพํ อจฺจุคมา อิมํ ปปญฺจํ</B> ความว่า ก็แลผู้ใด
|
|
46,0044,012,ก้าวล่วง คือ ข้ามพ้น อธิบายว่า ก้าวล่วงเสียด้วยดี ซึ่งความเนิ่นช้า ๓ อย่าง
|
|
46,0044,013,คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ อันมีเวทนา สัญญา และวิตก เป็นแดนเกิด
|
|
46,0044,014,ทั้งปวงเสียได้ ด้วยมัชฌิมาปฏิปทา อันมีอรหัตมรรคเป็นที่สุด.
|
|
46,0044,015,ก็ในคาถาต่อจากนั้น มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า <B>สพฺพํ วิตถมิทํ
|
|
46,0044,016,ตฺวา โลเก</B>. เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า บทว่า <B>สพฺพํ</B> ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ
|
|
46,0044,017,มีคำอธิบายว่า ทั้งสิ้นคือเต็ม.
|
|
46,0044,018,ก็แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ในคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
|
|
46,0044,019,สังขตธรรม อันต่างโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ที่เป็นโลกีย์ซึ่งเข้าถึงวิปัสสนา
|
|
46,0044,020,เท่านั้น.
|
|
|