|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
50,0008,001,<H1>นิทานกถาวรรณนา</H1>
|
|
50,0008,002,ในเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนตามที่กำหนดไว้แล้ว
|
|
50,0008,003,อย่างนี้ เถรคาถาเป็นคาถาต้น. แม้ในบรรดาเถรคาถาเหล่านั้น คาถาที่ท่าน
|
|
50,0008,004,พระอานนท์ กล่าวไว้เพื่อชมเชยพระเถระเหล่านั้น ในคราวทำปฐมสังคายนา
|
|
50,0008,005,นี้ว่า
|
|
50,0008,006,<B>ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถา อันน้อมเข้าไปสู่
|
|
50,0008,007,ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้ว
|
|
50,0008,008,บันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็น
|
|
50,0008,009,สัตว์ประเสริฐว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำ
|
|
50,0008,010,ภูเขา ฉะนั้น ดังนี้ </B> เป็นคาถาแรก.
|
|
50,0008,011,ศัพท์ว่า สีหะ ในบทว่า <B>สีหานํ </B> ในคาถานั้นมาแล้ว ในความหมายว่า
|
|
50,0008,012,<B>พญาเนื้อ</B> ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์เป็น พญาเนื้อ. มาใน
|
|
50,0008,013,ความหมายว่า <B>บัญญัติ </B> ดังในประโยคว่า ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เข้าไปเฝ้า
|
|
50,0008,014,พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับอยู่. มาในความหมายว่า
|
|
50,0008,015,<B>ตถาคต</B> ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า <B>สีหะ</B> นี้ เป็นชื่อของ
|
|
50,0008,016,เราผู้ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ในความหมาย ๓ อย่างนั้น ในความ
|
|
50,0008,017,หมายว่าตถาคต สีหศัพท์มาแล้วในความหมายว่าคล้ายกัน ฉันใด แม้ในคาถานี้
|
|
50,0008,018,ก็ฉันนั้น สีหศัพท์พึงทราบว่า มาแล้วด้วยสามารถแห่งความหมายว่าคล้ายกัน.
|
|
50,0008,019,เพราะฉะนั้น บทว่า <B>สีหานํ ว</B> จึงตัดบทเป็น <B>สีหานํ อิว</B> (แปลว่า ดุจราชสี)
|
|
50,0008,020,ลบสระเสียด้วยอำนาจสนธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า <B>เอวํ ส เต</B> ดังนี้. บรรดา
|
|
50,0008,021,บทเหล่านั้น บทว่า <B>อิว</B> เป็นบทนิบาต.
|
|
|