Book,Page,LineNumber,Text
22,0031,001,ก็กรรมที่บุคคลกระทำแล้ว ชั้นที่สุดแม้ในเวลาใกล้จะตายให้ผลใน
22,0031,002,ภพอื่นได้ ทั้งหมดนั้นชื่อว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อไป. ในเรื่องวิบาก
22,0031,003,ของกรรมนั้น วิบากอันใดของฌานที่ไม่เสื่อม วิบากอันนั้นท่านกล่าวว่า
22,0031,004,วิบากที่เกิดแล้ว ในที่นี้ ท่านไม่ได้วิจารณ์ไว้ว่า กรรมที่เป็นต้นเค้ามูลของ
22,0031,005,วิบากนั้น ไม่ให้ผลในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในสัมปรายภพ. ท่านไม่วิจารณ์ไว้
22,0031,006,ก็จริง แต่ถึงกระนั้นพึงทราบว่า กรรมนั้นให้ผลในสัมปรายภพแน่นอน.
22,0031,007,วิบากคือผลสมาบัติอันใดในลำดับแห่งการเกิดของปฐมมรรคเป็นต้น วิบากคือ
22,0031,008,ผลสมาบัติอันนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นคุณความดีอันเกิดขึ้นแล้ว ในที่นี้. ท่าน
22,0031,009,กล่าวไว้อย่างนั้นก็จริง แต่ถึงกระนั้น มรรคกรรม พึงทราบว่าให้ผลเสร็จสิ้น
22,0031,010,ไปแล้ว เพราะมรรคเจตนาเท่านั้น ให้ผลเร็วกว่าเขาทั้งหมด เพราะเป็นผลใน
22,0031,011,ลำดับติดต่อกันไปแล.
22,0031,012,บทว่า พหุเวทนียํ คือ เข้าถึงสัญญภพ. บทว่า อปฺปเวทนียํ
22,0031,013,คือ เข้าถึงอสัญญภพ. บทว่า สเวทนียํ คือ กรรมที่มีผล. บทว่า อเวทนียํ
22,0031,014,คือ กรรมที่ไม่มีผล. บทว่า เอวํ สนฺเต ความว่า เมื่อกรรมที่ให้ผลใน
22,0031,015,ปัจจุบันเป็นต้นเหล่านี้ ไม่ได้เหตุแห่งความเป็นกรรมที่ให้ผลในสัมปรายภพ
22,0031,016,เป็นต้น ด้วยความพยายามมีอยู่. บทว่า อผโล คือไร้ผล ไร้ประโยชน์
22,0031,017,ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความ
22,0031,018,พากเพียรในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ไม่มีผล แล้วทรงแสดง
22,0031,019,ถึงวาทะอันเป็นเครื่องตัดความเพียร (ที่ไร้ผล). บทว่า สหธมฺมิกา วาทานุ-
22,0031,020,วาทา ได้แก่ วาทะของนิครนถ์อาจารย์ วาทะของนิครนถ์ศิษย์ที่มีเหตุกล่าว
22,0031,021,ไว้. บทว่า คารยฺหฏฺานํ อาคจฺฉนฺติ ได้แก่ มาถึงเหตุที่วิญญูชน
22,0031,022,ทั้งหลายจะพึงติเตียน. ปาฐะว่า วาทานุปฺปตฺตา คารยฺหฏฺานา ดังนี้ก็มี.