Book,Page,LineNumber,Text
26,0013,001,พระราชาผู้ทรงชอบพระทัยในธรรมดี นรชนผู้มี
26,0013,002,ปัญญาดี การไม่ประทุษร้ายมิตรดี การไม่ทำความชั่ว
26,0013,003,เป็นสุข.
26,0013,004,สาธุก ศัพท์นั่นแลใช้ในการกระทำให้มั่นเข้า ในประโยคเป็นต้นว่า
26,0013,005,เตนหิ พฺราหฺมณ สาธุกํ สุณาหิ พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นเธอจงสดับ
26,0013,006,ให้มั่น. สาธุก ศัพท์นี้ท่านกล่าวว่า ใช้ในการบังคับก็ได้. แต่ในที่นี้
26,0013,007,สาธุก ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า การกระทำให้มั่นเข้าอย่างเดียว. อนึ่ง อรรถ
26,0013,008,แห่งการบังคับพึงทราบต่อไป แม้ในอรรถว่า เป็นความดีก็ใช้ได้. สาธุก
26,0013,009,ศัพท์ในอรรถทั้งสองงนั้นท่านแสดงไว้ด้วยอรรถแห่งการทำให้มั่นว่า ทฬฺหํ
26,0013,010,อิมํ ธมฺมํ สุณาก สุคหิตํ คณฺหนฺตา เมื่อจะถือเอาให้ดี พวกเธอก็
26,0013,011,จงฟังธรรมนี้ให้มั่น ด้วยอรรถแห่งการบังคับว่า มม อาณตฺติยา สุณาถ
26,0013,012,เธอทั้งหลายจงฟังตามคำสั่งของเรา ด้วยอรรถว่า เป็นความดีว่า สุนฺทรมิมํ
26,0013,013,ภทฺทกํ ธมฺมํ สุณาถ เธอจงฟังธรรมนี้ให้ ให้เจริญ. บทว่า
26,0013,014,มนสิกโรถ ความว่า จงระลึก คือประมวลมา. อธิบายว่า เธอจงมีจิต
26,0013,015,ไม่ฟุ้งซ่านตั้งใจฟัง คือทำไว้ในใจ.
26,0013,016,บัดนี้ คำว่า ตํ สุณาถ ในที่นี้นั้น เป็นคำห้ามการที่โสตินทรีย์
26,0013,017,ฟุ้งซ่าน. คำว่า สาธุกํ มนสิกโรถ เป็นคำห้ามการที่มนินทรีย์
26,0013,018,ฟุ้งซ่าน ด้วยการประกอบให้มั่นในมนสิการ ก็ใน ๒ คำนี้ คำแรกเป็น
26,0013,019,การยึดถือด้วยความคลาดเคลื่อนแห่งพยัญชนะ คำหลังเป็นการห้ามการยึด
26,0013,020,ถือความคลาดเคลื่อนแห่งเนื้อความ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบภิกษุ
26,0013,021,ไว้ในการฟังธรรมด้วยคำแรก. ทรงประกอบภิกษุไว้ในการทรงจำและ
26,0013,022,สอบสวนธรรมที่ภิกษุฟังแล้วด้วยคำหลัง. อนึ่ง ด้วยคำแรกย่อมทรง