Book,Page,LineNumber,Text
26,0025,001,ไม่ผ่องใส ไม่สามารถจะรับอารมณ์ของตนแม้ที่หยาบได้ เพราะเหตุนั้น
26,0025,002,ชรานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้โดยอิงเหตุใกล้กับผลว่า ความแก่
26,0025,003,หง่อมแห่งอินทรีย์.
26,0025,004,ก็ชราแม้ทั้งหมดที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างนี้นั้น มี ๒ อย่าง คือ
26,0025,005,ปากฏชรา ปฏิจฉันนชรา. ในชรา ๒ อย่างนั้น ความแก่ไปรูปธรรม
26,0025,006,เพราะแสดงถึงฟันหัก เป็นต้น ชื่อว่า ปากฏชรา. ส่วนความแก่ใน
26,0025,007,อรูปธรรม เพราะไม่แสดงวิการ (เปลี่ยนแปลง) เช่นนั้น ชื่อว่า ปฏิจ-
26,0025,008,ฉันนชรา. ชราอีกนัยหนึ่งมี ๒ อย่าง อย่างนี้คือ อวิจิชรา สวิจิชรา
26,0025,009,ในชรา ๒ อย่างนั้น ชรา ชื่อว่า อวิจิชรา เพราะธรรมชาติมีความ
26,0025,010,แปลกแห่งวรรณะติดต่อกันเป็นต้น รู้ได้ยาก เหมือนแก้วมณี ทอง เงิน
26,0025,011,แก้วประพาฬ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นต้น เหมือนเหล่าสิ่งมีปราณ
26,0025,012,ในสัตว์มันททสกะเป็นต้น และเหมือนสิ่งที่ไม่มีปราณในดอกไม้ ผลไม้
26,0025,013,และใบอ้อนเป็นต้นฉะนั้น อธิบายว่าชราที่ติดต่อกัน อนึ่ง ชราพึงทราบว่า
26,0025,014,ที่ชื่อว่า สวิจิชรา เพราะธรรมชาติมีความแปลกแห่งวรรณะติดต่อกัน
26,0025,015,เป็นต้น วัตถุเหล่าอื่นจากนั้นตามที่กล่าวแล้วบุคคลรู้ได้ง่าย คำว่า
26,0025,016,เตสํ เตสํ เป็นต้นนอกจากนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
26,0025,017,ก็คำว่า จุติ ในคำว่า จุติ จวนตา เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจการเคลื่อน
26,0025,018,จากภพ (เดิม). คำว่า จุติ นั้นเป็นชื่อของขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๕
26,0025,019,และอายตนะ. จวนตา เป็นคำแสดงลักษณะ ด้วยคำแสดงภาวะ. คำว่า
26,0025,020,เภโท เป็นคำแสดงความเกิดขึ้นและดับไปแห่งจุติขันธ์. คำว่า อนฺตร-
26,0025,021,ธานํ เป็นคำแสดงภาวะของสิ่งที่วิโรธิปัจจัยกระทบแตกไปของจุติขันธ์ที่
26,0025,022,แตกไปโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มจฺจุ มรณํ ได้แก่มรณะ