Book,Page,LineNumber,Text
28,0003,001,
สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย
28,0003,002,สฬายตนวรรค
28,0003,003,ปฐมปัณณาสก์
28,0003,004,อรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑
28,0003,005,ในสฬายตนวรรค อัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.
28,0003,006,บทว่า จกฺขุํ ได้แก่จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.
28,0003,007,ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ
28,0003,008,สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ. ในจักษุ ๕ ย่างนั้น ที่ชื่อว่าพุทธจักษุ
28,0003,009,ได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่า
28,0003,010,ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. ที่ชี่อธรรมจักษุ ได้แก่มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓
28,0003,011,ซึ่งมาในพระบาลีว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ธรรมจักษุ
28,0003,012,ปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า สมันตจักษุ
28,0003,013,ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุ
28,0003,014,สมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท. ที่ชื่อว่า ทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการ
28,0003,015,ขยายอาโลกกสิณ ที่มาในพระบาลีว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน
28,0003,016,ด้วยทิพยจักษุอันหมดจด. ที่ชื่อว่า ปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนด
28,0003,017,สัจจะ ๔ ซึ่งมาในพระบาลีว่า จกฺขุํ อุทปาทิ จักษุ ( ธรรมจักษุ )
28,0003,018,เกิดขึ้นแล้ว. แม้มังสจักษุ ก็มี ๒ อย่าง คือ สัมภารจักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑.