Book,Page,LineNumber,Text
45,0046,001,ไม่ใช่เป็นความหมายที่ไม่สูงสุด เหมือนอย่างความหมายที่ต้องรับไว้ด้วยการฟัง
45,0046,002,กันสืบ ๆ มาเป็นต้น ความหมายเป็นปรมัตถสภาวะมีสัททรูปคือเสียงเป็นต้น
45,0046,003,และมีการแตกสลาย มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น มีอยู่ด้วยอำนาจสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์.
45,0046,004,ส่วนความหมายอันใดมีความหมายถึงอาการเป็นต้น ที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อิติ
45,0046,005,และว่า เม ความหมายอันนั้นมิใช่ปรมัตถสภาวะ คือ ไม่ได้ด้วยอำนาจสัจ-
45,0046,006,ฉิกัฏฐปรมัตถ์ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ. ถามว่า บรรดาบททั้ง ๓ นี้ บท
45,0046,007,ใดพึงได้การแสดงอ้างว่า อิติ หรือว่า เม บทนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์หรือ ?
45,0046,008,ตอบว่า บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ. อธิบายว่าอารมณ์ที่ได้รับทาง
45,0046,009,โสตประสาทนั้น มีอยู่โดยปรมัตถ์.
45,0046,010,อนึ่ง บทว่า อิติ จัดเป็นอุปทายบัญญัติ เพราะจะพึงกล่าวด้วย
45,0046,011,อำนาจการพาดพิงถึงอาการทั้งหลาย มีอาการที่ทรงจำไว้เป็นต้นเหล่านั้นได้ก็
45,0046,012,โดยอาศัยธรรมทั้งหลายที่มากระทบโสต. บทว่า เม ชื่อว่า เป็นอุปาทาย-
45,0046,013,บัญญัติ เพราะจะต้องพูดถึง โดยอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่นับเนื่องในสันตติ ซึ่งที่
45,0046,014,สูงสุดโดยพิเศษมีการณะเป็นต้น. บทว่า สุตํ ชื่อว่าเป็นอุปนิธายบัญญัติ
45,0046,015,เพราะจะต้องพูดถึง โดยเปรียบเทียบกันอารมณ์ทั้งหลายมีรูปที่ได้เห็นเป็นต้น
45,0046,016,โวหารว่า สุตะ แม้เป็นไปในสัททายตนะ ที่เว้นจากสภาวะของรูปที่ได้เห็น
45,0046,017,เป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยเปรียบเทียบกับรูปที่ได้เห็นเป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่
45,0046,018,พึงทราบชัดว่า สิ่งใดไม่มุ่งถึงรูปที่ได้เห็น กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้ทราบ
45,0046,019,และอารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง สิ่งนั้นจัดเป็นสุตะ๑ เปรียบเหมือนโวหารว่า ทุติยฌาณ
45,0046,020,ตติยฌาณเป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยอาศัยปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้น เพราะเหตุ
45,0046,021,นั้น ท่านจึงประกาศเนื้อความนี้ไว้ว่า ชื่อว่า สุตะ เพราะไม่ใช่ ไม่ได้ฟังมา.