Book,Page,LineNumber,Text 50,0012,001,ของตนให้ถึงที่สุดได้. แม้ในอธิการนี้ พระอริยมรรคชื่อว่าเขี้ยว เพราะเป็น 50,0012,002,ดุจเขี้ยว เพราะฉะนั้น พึงทราบความโดยความหมายที่คล้ายกันเท่านั้น. 50,0012,003,บทว่า คิริคพฺภเร แปลว่า ใกล้ถ้ำภูเขา. (บทว่า คิริคพฺภเร) 50,0012,004,เป็นสัตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คิริควฺหเร. 50,0012,005,ความว่า ที่ชัฎแห่งป่าคือไพรสณฑ์ ใกล้ภูเขา. ก็คำว่า คิริคพฺภเร นี้ เป็น 50,0012,006,คำแสดงถึงสถานที่อันรุ่งโรจน์ และแสดงถึงภาคพื้นที่ควรบันลือสีหนาทของ 50,0012,007,ราชสีห์เหล่านั้น. ประกอบความว่า ของราชสีห์ทั้งหลายซึ่งบันลืออยู่ ที่ใกล้ถ้ำ 50,0012,008,ภูเขา ดังนี้. 50,0012,009,ก็ราชสีห์ทั้งหลาย เมื่ออยู่ที่ใกล้ถ้ำภูเขา คือในที่ซึ่งสงัดจากผู้คน 50,0012,010,เพราะราชสีห์เป็นสัตว์ที่คนและสัตว์อื่นเข้าใกล้ได้ยาก จะบันลือสีหนาทในเวลา 50,0012,011,ไปหากิน เพื่อป้องกันความสะดุ้งกลัวของหมู่มฤคเล็ก ๆ ที่จะบังเกิดขึ้นเพราะ 50,0012,012,เห็นตน ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ เมื่ออยู่ในสุญญาคาร เช่นเดียวกับ 50,0012,013,ถ้ำภูเขา ที่คนเหล่าอื่นเข้าใกล้ได้ยากทีเดียว ก็บันลือ (สีหนาท) อย่างไม่ 50,0012,014,เกรงใคร กล่าวคือคาถาที่กล่าวไว้ เพื่อหลีกเว้นความสะดุ้งหวาดเสียวเล็ก ๆ 50,0012,015,น้อย ๆ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ ของปุถุชนผู้ด้อยคุณธรรม. ด้วยเหตุนั้น 50,0012,016,ท่านจึงกล่าวว่า สีทานํว นทนฺตานํ ทา€ีนํ คิริคพฺภเร ( แปลว่า ดุจ- 50,0012,017,การบันลือของสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยว 50,0012,018,ทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำภูเขา) ดังนี้. 50,0012,019,บทว่า สุณาถ เป็นคำกล่าวบังคับให้ฟัง. พระอานนทเถระ ประสงค์ 50,0012,020,จะให้เกิดความเป็นผู้ใคร่จะฟัง ให้เกิดความสนใจในการฟัง ปลุกให้เกิดความ 50,0012,021,อุตสาหะ. ให้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความเคารพและความนับถืออย่างมาก แก่บริษัทที่ 50,0012,022,มาประชุมกัน (เพื่อฟัง) คาถาทั้งหลายที่พระเถระนั้นกล่าวอยู่. อีกอย่างหนึ่ง 50,0012,023,พึงทราบความแห่งบทว่า สีหานํ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความสูงสุด