Book,Page,LineNumber,Text 17,0031,001,คนอื่น สมัยแห่งธรรมีกถา ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้ง ๒ ของผู้ 17,0031,002,ประชุมกัน สมัยแห่งเทศนา ในบรรดาสมัยแห่งการเทศนา และการ 17,0031,003,ปฏิบัติ สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เอกํ สมยํ 17,0031,004,ดังนี้. 17,0031,005,ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านไม่ทำเหมือนอย่างในอภิธรรม 17,0031,006,ท่านทำการแสดงไขด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามารจรํ และว่า 17,0031,007,ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ในสุตตบทอื่นจาก 17,0031,008,คัมภีร์นี้ และในวินัยท่านทำการแสดงไขด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน 17,0031,009,สมเยน พุทฺโธ ภควา แต่ทำการแสดงไขด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอกํ สมยํ 17,0031,010,ตอบว่า เพราะในที่นั้นมีความหมายเป็นอย่างนั้น แต่ในที่นี้มีความหมาย 17,0031,011,เป็นอย่างนี้ ( มีความหมายคนละอย่าง). จริงอยู่ ในบรรดาอภิธรรม 17,0031,012,เป็นต้นเหล่านั้น ในอภิธรรม และในสุตตบทอื่นนอกจากนี้ สมยศัพท์ 17,0031,013,มีความหมายในอธิกรณะ ( สัตตมีวิภัตติ) และมีความหมายภาวลักษณะโดย 17,0031,014,ภาวะ. เพราะว่า สมยะ เป็นอธิกรณะ มีกาละเป็นอรรถ และมีสมูหะ 17,0031,015,เป็นอรรถ และท่านกำหนดว่าเป็นภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย มีผัสสะ 17,0031,016,เป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ เวลานั้น โดยภาวะแห่งสมยะ 17,0031,017,กล่าวคือ ขณะ การรวบรวมและเหตุ เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความ 17,0031,018,นั้นกระจ่าง ท่านจึงแสดงไขเป็นสัตตมีวิภัตติในบทนั้น. จริงอยู่ 17,0031,019,สมัยแห่งการบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้ท่านพระสารีบุตรเป็นต้น ก็รู้ 17,0031,020,ได้ยาก. 17,0031,021,พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยสมัยนั้น อัน 17,0031,022,เป็นเหตุ และเป็นกรณะ และเมื่อทรงเพ่งถึงเหตุการบัญญัติสิกขาบท