Book,Page,LineNumber,Text
39,0028,001,
พรรณนา ๕ สิกขาบทข้างต้น
39,0028,002,คำใดข้าพเจ้า กล่าวไว้ว่า แต่ใน ๕ สิกขาบทข้างต้น จำต้องชี้แจง
39,0028,003,โดยประกาศความที่แปลกกัน ฯลฯ พึงทราบวินิจฉัย ฯลฯ ในคำนั้น บัดนี้
39,0028,004,ข้าพเจ้าจะกล่าวชี้แจงดังนี้ ก่อนอื่น ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ บทว่า ปาโณ
39,0028,005,ได้แก่ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่นับเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์. อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ สัตว์
39,0028,006,ที่บัณฑิตอาศัยความสืบต่อแห่งขันธ์นั้น บัญญัติไว้. ก็วธกเจตนา เจตนาคิดจะ
39,0028,007,ฆ่าของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่าเป็นสัตว์มีชีวิต เป็นสมุฏฐาน
39,0028,008,แห่งความพยายามที่จะตัดชีวิตินทรีย์ของสัตว์มีชีวิตนั้น เป็นไปทางกายทวาร
39,0028,009,และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
39,0028,010,ในคำว่า อทินฺนาทานํ นี้ บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ทรัพย์สิ่งของ
39,0028,011,ที่เจ้าของหวงแหน. ซึ่งเจ้าของเองเมื่อทำตามที่ต้องการ ก็ไม่ต้องโทษ ไม่ถูก
39,0028,012,ตำหนิเถยยเจตนา เจตนาคิดจะลัก ของบุคคลผู้มีความสำคัญในทรัพย์สิ่งของที่
39,0028,013,เจ้าของหวงแหนว่าเป็นทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของหวงแหน เป็นสมุฏฐานแห่งความ
39,0028,014,พยายามที่จะลักทรัพย์สิ่งของนั้น เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใด
39,0028,015,ทวารหนึ่งนั้นแล ชื่อว่าอทินนาทาน.
39,0028,016,บทว่า อพฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ความประพฤติไม่ประเสริฐ. เจตนา
39,0028,017,เป็นเหตุละเมิดฐาน. คือ การซ่องเสพอสัทธรรม เป็นไปทางกายทวารโดยการ
39,0028,018,ซ่องเสพเมถุนคือการสมสู่กันสองต่อสอง ชื่อว่า อพรหมจรรย์.
39,0028,019,ในคำว่า มุสาวาโท นี้ บทว่า มุสา ได้แก่ วจีประโยคหรือ กาย
39,0028,020,ประโยค ที่หักรานประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อนจากความจริงเป็น
39,0028,021,เบื้องหน้า มิจฉาเจตนา เจตนาที่จะพูดผิด ทำผิด ของบุคคลนั้น ด้วยประสงค์
39,0028,022,จะให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยคที่จะทำผู้อื่น