Book,Page,LineNumber,Text
05,0013,001,ก็คำว่า อุพฺภชานุมณฺฑิกา นี้ เป็นเพียงชื่อแห่งอาบัติปาราชิกนี้;
05,0013,002,เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงวิจารณ์ไว้ในบทภาชนะ.
05,0013,003,พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงแสดงไว้โดยลำดับ
05,0013,004,แห่งบทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยความต่างกันแห่ง
05,0013,005,ความเป็นผู้มีความกำหนัดเป็นต้น จึงได้ตรัสคำว่า อุภโต อวสฺสุเต เป็นต้น.
05,0013,006,ว่าด้วยทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัดจับต้องกายเป็นต้น
05,0013,007,ในคำว่า อุภโ ต อวสฺสุเต เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
05,0013,008,คำว่า อุภโต อวสฺสุเต คือ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกำหนัด.
05,0013,009,ความว่า เมื่อภิกษุณีและบุรุษเป็นผู้มีความกำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ.
05,0013,010,สามบทว่า กาเยน กายํ อามสติ มีความว่า ภิกษุณีจับต้องกาย
05,0013,011,ของบุรุษส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยกายตามที่กำหนดไว้ หรือว่า บุรุษจับต้องกาย
05,0013,012,ของภิกษุณีตามที่กำหนดไว้ ด้วยกาย (ของตน) ส่วนใดส่วนหนึ่ง. เป็นปาราชิก
05,0013,013,แก่ภิกษุณีแม้โดยประการทั้งสอง.
05,0013,014,สองบทว่า กาเยน กายปฏิพทฺธํ คือ (ภิกษุณีถูกต้อง) ของเนื่อง
05,0013,015,ด้วยกายของบุรุษด้วยกายของตน มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล.
05,0013,016,ในบทว่า อามสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณี จงจับต้องเองหรือจง
05,0013,017,ยินดีการจับต้องของบุรุษนั้นก็ตามที เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน .
05,0013,018,สองบทว่า กายปฏิพทฺเธน กายํ ได้แก่ ภิกษุณีจับต้องกายของ
05,0013,019,บุรุษ ด้วยของเนื่องด้วยกายมีประการดังกล่าวแล้วของตน.
05,0013,020,แม้ในบทว่า อามสติ นี้ ก็มีวินิจฉัยว่า ภิกษุณีจงจับต้องเองหรือ
05,0013,021,จงยินดีการจับต้องของบุรุษก็ตามที เป็นถุลลัจจัยทั้งนั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็
05,0013,022,พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยนี้แล. แต่ถ้าเป็นภิกษุกับภิกษุณีด้วยกัน ในภิกษุกับ