Book,Page,LineNumber,Text
05,0014,001,ภิกษุณีนั้น ถ้าภิกษุณีจับต้อง ภิกษุเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติงแต่ยินดีด้วยจิต พระวินัย-
05,0014,002,ธรไม่ควรปรับภิกษุด้วยอาบัติ. ถ้าภิกษุจับต้อง ภิกษุณีเป็นผู้นิ่งไม่ไหวติง
05,0014,003,แต่ยินดี (ยอมรับ) ด้วยจิตอย่างเดียว แม้ไม่ให้ส่วนแห่งกายไหว พระวินัยธร
05,0014,004,ก็พึงปรับด้วยปาราชิกในเขตแห่งปาราชิก ด้วยถุลลัจจัยในเขตแห่งถุลลัจจัย
05,0014,005,ด้วยทุกกฏในเขตทุกกฏ. เพราะเหตุไร ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
05,0014,006,ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย. นี้เป็นวินิจฉัย ในอรรถกถาทั้งหลาย. ก็เมื่อมีวินิจฉัย
05,0014,007,อย่างนี้ ความที่สิกขาบทนี้มีการทำเป็นสมุฏฐาน ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะเหตุ
05,0014,008,นั้นความที่สิกขาบทมีการทำเป็นสมุฏฐานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พวกอาจารย์
05,0014,009,กล่าวไว้โดยนัย คือความที่สิกขาบทนั้นมีการทำเป็นสมุฏฐานทั้งนั้นเป็นส่วน
05,0014,010,มาก.
05,0014,011,บทว่า อุพฺภกฺขกํ แปลว่า เบื้องบนแห่งรากขวัญทั้งสอง.
05,0014,012,บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ แปลว่า ภายใต้แห่งมณฑลเข่าทั้งสอง. อนึ่ง
05,0014,013,แม้เหนือข้อศอกขึ้นมา ท่านก็สงเคราะห์เข้าด้วยเหนือมณฑลเข่าเหมือนกัน ใน
05,0014,014,บทว่า อโรชานุมณฑลํ นี้.
05,0014,015,ในคำ เอกโต อวสฺสุเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เอกโต
05,0014,016,"ไว้โดยไม่แปลกกัน แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุณีมี"
05,0014,017,ความกำหนัดเท่านั้น ความต่างแห่งอาบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้.
05,0014,018,ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีกำหนัดด้วย
05,0014,019,ความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย ถึงบุรุษก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อมีความยิน
05,0014,020,ดีในการเคล้าคลึงกาย ในกายประเทศตั้งแต่รากขวัญลงมา เหนือมณฑลเข่าขึ้น
05,0014,021,ไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี. ภิกษุณีมีความกำหนัดในการเคล้าคลึงกาย. ฝ่าย
05,0014,022,บุรุษมีความกำหนัดไม่เมถุน หรือมีความรักอาศัยเรือน หรือมีจิตบริสุทธิ์ก็ตาม