Book,Page,LineNumber,Text
07,0012,001,แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา . . .
07,0012,002,แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย . . .
07,0012,003,แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง
07,0012,004,ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพนักแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้
07,0012,005,เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่
07,0012,006,หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉัน
07,0012,007,นั้นเหมือนกันแล.
07,0012,008,
นิคมคาถา
07,0012,009,[๔] ภิกษุผู้น้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้
07,0012,010,น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑ ผู้น้อมไป
07,0012,011,สู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้น
07,0012,012,อุปาทาน ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้
07,0012,013,น้อมไปสู่ความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมมี
07,0012,014,จิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด
07,0012,015,และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้น
07,0012,016,แล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
07,0012,017,สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็
07,0012,018,ไม่มี เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลา
07,0012,019,เป็นแท่งทึบ อันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือน
07,0012,020,ด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ
07,0012,021,และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่
07,0012,022,น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้
07,0012,023,หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของท่านตั้งมั่น
07,0012,024,หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นคาวาม
07,0012,025,เกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.