Book,Page,LineNumber,Text 07,0047,001,ปริมาณนี้คือ ช้างพัง ๖ เชือก กับช้างพลาย ๑ เชือก เป็นอนีกะหนึ่ง 07,0047,002,๗ อนีกะเช่นนี้ ชื่อว่า สัตตหัตถิกอนีกะ. 07,0047,003,บทว่า ทิคุณา ได้แก่ ๒ ชั้น. 07,0047,004,บทว่า ติคุณา ได้แก่ ๓ ชั้น รองเท้ามีชั้นตั้งแต่ ๔ ชั้นขึ้นไป 07,0047,005,พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รองเท้าหลายชั้น. 07,0047,006,บทว่า สพฺพนีลกา ได้แก่ เขียวล้วนทีเดียว. แม้ในสีท่าง ๆ มี 07,0047,007,เหลืองล้วนเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็บรรดารองเท้าสีเหล่านั้น รองเท้า 07,0047,008,เขียวคราม มีสีคล้ายสีดอกผักตบ รองเท้าเหลืองมีสีคล้ายดอกกรรณิการ์ รอง- 07,0047,009,เท้าแดง มีสีคล้ายดอกชบา รองเท้าแดงสำลาน คือแดงอ่อน มีสีคล้ายฝาง 07,0047,010,รองเท้าดำ มีสีคล้ายสีลูกประคำดีควาย รองเท้าแดงเข้ม มีสีคล้ายหลังตะขาบ 07,0047,011,"รองเท้าแดงกลาย ๆ มีสีเจือกัน คล้ายสีใบไม้เหลือง, แต่ในกุรุนทีแก้ว่ามีสีคล้าย" 07,0047,012,ดอกบัวหลวง. บรรดารองเท้าเหล่านี้ ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว เอาผ้าเช็ค 07,0047,013,น้ำยาทำลายสีเสียแล้วสวม ควรอยู่. แม้ทำลายสีเสียเพียงเล็กน้อย ก็ควร 07,0047,014,เหมือนกัน. 07,0047,015,บทว่า นีลวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่มีหูเท่านั้นเขียว. แม้ในสีทั้งปวง 07,0047,016,มีสีเหลืองเป็นต้น มีนัยเหมือนกัน. แม้รองเท้าที่มีหูเขียวเป็นต้น เหล่านั้น 07,0047,017,ก็พึงทำลายสีเสียแล้วจึงค่อยสวม. 07,0047,018,บทว่า ขลฺลกพทฺธา ได้แก่ รองเท้าที่ทำติดแผ่นหนังที่พื้นขึ้นมา 07,0047,019,เพื่อปิดส้น. รองเท้าของชาวโยนกเรียกว่า รองเท้าหุ้มเป็นกระบอกได้แก่ 07,0047,020,รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมดจนถึงแข้ง. 07,0047,021,บทว่า ปาลิคุณฺ€ิมา ได้แก่ รองเท้าที่หุ้มหลังเท้า ปิดแค่เพียงบน 07,0047,022,หลังเท่านั้น ไม่ปิดแข้ง. 07,0047,023,บทว่า ตูลปุณฺณิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำยัดด้วยปุยนุ่น.