Book,Page,LineNumber,Text
15,0039,001,รัตนตรัย. บทว่า อวิสหนฺโต ได้แก่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ ได้
15,0039,002,ตรัสติเตียนเพราะความที่พระองค์เป็นพาล แล้วเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว
15,0039,003,ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ชมเชยพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีจริง
15,0039,004,พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีจริง พระสงฆ์ปฏิบัติดีจริง ย่อมชี้
15,0039,005,โทษของเธอโดยเฉพาะ. คำว่า อิติ โข เต ความว่า พระผู้มีพระภาค
15,0039,006,เจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เหล่ามนุษย์จักกล่าวติเตียนอย่างนี้แล.
15,0039,007,เพราะฉะนั้น เมื่อโทษเกิดขึ้นอย่างนี้ เธอไม่อาจจะกล่าวได้ว่า พระ
15,0039,008,ศาสดาผู้มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีตและอนาคต แม้ทรงทราบว่า โทษ
15,0039,009,จักเกิดแก่เราอย่างนี้ ก็ไม่ตรัสเตือนเราล่วงหน้าก่อน. บทว่า อปกฺกเมว
15,0039,010,ได้แก่ ได้หลีกออกไปทีเดียว. หรือได้หนีออกไป อธิบายว่า เคลื่อนออก
15,0039,011,ไป. คำว่า ยถา ตํ อาปายิโก อธิบายว่า สัตว์ผู้ควรไปเกิดในอบาย
15,0039,012,สัตว์ผู้ควรไปเกิดในนรกพึงหนีไปเกิดฉันใด เธอก็ได้หนีไปฉันนั้น.
15,0039,013,ด้วยคำว่า เอกมิทาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอะไร. พระ
15,0039,014,องค์ทรงเริ่มสูตรนี้ ด้วยสองบทว่า ไม่ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์และไม่
15,0039,015,บัญญัติสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเลิศ. ในสองบทนั้น บทว่า ไม่ทรง
15,0039,016,บัญญัติส่งที่ชาวโลกสมมติเลิศ นี้ จักทรงแสดงในตอนท้ายสูตร.
15,0039,017,ส่วนบทว่า ไม่ทรงทำปาฏิหาริย์ นี้ ได้ทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยอำนาจที่ทรง
15,0039,018,แสดงสืบต่อ.
15,0039,019,คำว่า เอกมิทาหํ ในบาลีนั้น แยกบทเป็น เอกสฺมึ อหึ. บท
15,0039,020,ว่า สมยํ ได้แก่ ในสมัย. อธิบายว่า ในกาลครั้งหนึ่งเรา. บทว่า ถูลูสุ
15,0039,021,อธิบายว่า มีชนบทแห่งหนึ่งชื่อว่า ถูลู เราอยู่ในชนบทนั้น. บทว่า
15,0039,022,อุตฺตรกา นาม อธิบายว่า มีนิคมถูลูชนบท มีชื่อเป็นเพศหญิงว่า อุตตรกา
15,0039,023,ทรงอาศัยนิคมนั้นเป็นโคจรคาม. บทว่า อเจโล ได้แก่ผู้เปลือยกาย. บทว่า
15,0039,024,โกรกฺขตฺติโย ได้แก่ กษัตริย์ผู้มีพระบาทงองุ้ม. บทว่า กุกฺกุรวตฺติโก
15,0039,025,ได้แก่ มาหานสุนัขวัตร ดมกลิ่น กินอาหาร นอนในบริเวณเตาไฟ เหมือน