Book,Page,LineNumber,Text 17,0026,001,(ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่เข้าไปพบสัตบุรุษ. 17,0026,002,อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านกล่าวไว้ว่า บทว่า เอวํ เป็นบทแสดง 17,0026,003,อาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่มีการรับเอาอรรถและพยัญชนะ โดยเป็น 17,0026,004,ไปโดยประการต่างๆ กัน. และอาการที่ดีอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ 17,0026,005,ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน. ฉะนั้น ท่านแสดงความถึง 17,0026,006,พร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้ายของตน ด้วยอาการอันเจริญนี้ ด้วยบทว่า 17,0026,007,เอวํ ท่านแสดงความถึงพร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้นของตน ด้วยบทว่า 17,0026,008,สุตํ. จริงอยู่ การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่ผู้อยู่ในประเทศที่ไม่ 17,0026,009,สมควร หรือผู้เว้นจากการคบหากับสัตบุรุษ. ความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส 17,0026,010,ย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น เพราะความสำเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้าย ความ 17,0026,011,บริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ ย่อมมีเพราะความสำเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้น 17,0026,012,ด้วยประการฉะนี้. 17,0026,013,อนึ่ง ความสำเร็จแห่งความฉลาดในอธิคม (ปฏิเวธ) ย่อมมีแก่ 17,0026,014,บุคคลนั้น เพราะความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส ความสำเร็จแห่งความฉลาด 17,0026,015,ในอาคม (ปริยัติ) ย่อมมีเพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ (ความ 17,0026,016,เพียร) พระเถระเมื่อจะเรียงนิทานพจน์ไว้ในฐานะที่เหมาะสม คำของ 17,0026,017,ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอาคมและอธิคม ผู้มีอาสวกิเลสบริสุทธิ์ด้วยปโยคสมบัติ 17,0026,018,ย่อมควร เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจแสงเงินแสงทอง 17,0026,019,ขึ้นนำพระอาทิตย์ที่กําลังอุทัยอยู่ และดุจการทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็น 17,0026,020,ตัวนำ (การทำ) กุศลกรรม จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้. 17,0026,021,อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำนี้ว่า เอวํ ท่านพระเถระแสดงสภาวะคือ 17,0026,022,ความถึงพร้อมแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำ