Book,Page,LineNumber,Text 17,0037,001,ทั้งหลาย) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง และเป็น (วิเสสน- 17,0037,002,บุพพบทกัมมธารยสมาสว่า) สาโล จ โส เชฏฺ€กฏฺเ€น ราชา จ) 17,0037,003,ต้นสาละนั้นด้วย เป็นราชา เพราะหมายความว่าใหญ่ที่สุดด้วย เพราะเหตุ 17,0037,004,นั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง. บทว่า มูลํ แปลว่า ใกล้. เพราะว่า 17,0037,005,มูลศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ใกล้โคน ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึง 17,0037,006,ถอนโคน โดยที่สุดแม้มาตรว่า ลำต้นแฝก. มูลศัพท์ ใช้ในเหตุที่ไม่ 17,0037,007,ทั่วไป ในประโยคเป็นต้นว่า ความโลภ เป็นรากเหง้าของอกุศล อนึ่ง 17,0037,008,มูลศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ใกล้ในประโยคเป็นต้นว่า ในเวลาเที่ยงวันเงาทับตัว 17,0037,009,ด้วยเหตุทีเงา (ของต้นไม้) จะทับตัวในเวลาเที่ยงวัน และใบไม้หล่น 17,0037,010,ในเวลาสงัดลม เงาก็จะทับต้นไม้ ใบไม้ก็จะหล่นใกล้ต้นไม้. แต้ในที่นี้ 17,0037,011,มูลศัพท์ท่านประสงค์เอาอรรถว่า สมีปะ (ใกล้) เพราะฉะนั้น พึง 17,0037,012,ทราบเนื้อความในคำว่า สาลราชมูเล นี้ อย่างนี้ว่า ในที่ใกล้แห่งต้นรังใหญ่. 17,0037,013,ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ 17,0037,014,ในเมืองอุกกัฏฐาก่อนไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่า 17,0037,015,สุภควัน ถ้าว่าประทับอยู่ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่าสุภควันนั้นไซร้ ก็ไม่ควร 17,0037,016,กล่าวว่า ในเมืองอุกกัฏฐา. เพราะว่า พระองค์ไม่อาจจะประทับอยู่ 17,0037,017,คราวเดียวกันในที่ ๒ แห่งได้ ตอบว่า ก็แลข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้. 17,0037,018,เราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. 17,0037,019,เพราะฉะนั้น ฝูงโค เมื่อเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น 17,0037,020,ย่อมถูกเรียกว่าเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา ใกล้แม่น้ำยมุนาฉันใด แม้ในที่ 17,0037,021,นี้ก็ฉันนั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในป่าสุภควันใกล้ 17,0037,022,เมืองอุกกัฏฐา (และ) ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ ท่านก็เรียกว่า ประทับอยู่