Book,Page,LineNumber,Text 17,0047,001,ไม่มีส่วนเหลือ จริงอยู่ ศัพท์ว่า สัพพะ นี้ บ่งถึงความไม่มีส่วนเหลือ. 17,0047,002,ศัพท์ว่า สัพพ นั้น ย่อมแสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันไม่ให้เหลือ เหมือน 17,0047,003,อย่างในประโยคเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง เวทนาทั้งปวงไม่เที่ยง 17,0047,004,ในบรรดาธรรมที่เกี่ยวเนื่องในกายของตนทั้งหมด ดังนี้. 17,0047,005,ส่วนศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติ 17,0047,006,สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติ และ 17,0047,007,เญยยะ. 17,0047,008,จริงอยู่ ศัพท์ว่า ธัมมะ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัตติ ดังใน 17,0047,009,ประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ 17,0047,010,เคยยะ ดังนี้. 17,0047,011,ปรากฏในอรรถว่า สัจจะ ตังในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรม 17,0047,012,อันบัณฑิตเห็นแล้ว คือรู้แล้ว ดังนี้. 17,0047,013,ปรากฏในอรรถว่า สมาธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี- 17,0047,014,พระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้. 17,0047,015,ปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นว่า 17,0047,016,ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใดมีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ 17,0047,017,สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้น 17,0047,018,ย่อมก้าวล่วง (ไม่ตกอยู่ ) ในอำนาจศัตรู ดังนี้. 17,0047,019,ปรากฏในอรรถว่า ปกติ ในประโยคเป็นต้นว่า มีความเกิดเป็น 17,0047,020,ธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา ดังนี้. 17,0047,021,ปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ในประโยคเป็นต้นว่า กุศลธรรม 17,0047,022,ดังนี้.