Book,Page,LineNumber,Text 17,0049,001,แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงสู่ในอรรถว่า การณะบ้าง 17,0049,002,เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคำนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ 17,0049,003,ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้ง- 17,0049,004,ปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้. 17,0049,005,อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ ๔ ไม่พึงเข้าใจว่า 17,0049,006,ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนำ แต่ 17,0049,007,สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ที่นับเนืองในสักกายทิฏฐิ พึงเข้า 17,0049,008,ใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่า 17,0049,009,มานี้แล. 17,0049,010,

หลักการใช้ โว ศัพท์

17,0049,011,โว ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ 17,0049,012,ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม). 17,0049,013,อธิบายว่า 17,0049,014,โว ศัพท์ ใช้ในปฐมวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน 17,0049,015,อนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกัน 17,0049,016,อยู่หรือ ดังนี้. 17,0049,017,ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 17,0049,018,พวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ ดังนี้. 17,0049,019,ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่ 17,0049,020,ในสำนักของเราตถาคต ดังนี้. 17,0049,021,ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย