Book,Page,LineNumber,Text
22,0033,001,รับตจปัญจกกรรมฐาน เมื่อเขากำลังโกนผม ก็บรรลุพระอรหัต ในขณะที่
22,0033,002,จรดปลายมีดโกนนั่นแล ก็หรือว่า ยังเป็นผู้บวชใหม่ มีศีรษะทาน้ำมันผสม
22,0033,003,มโนศิลา วันรุ่งขึ้น ฉันภัตตาหารที่บิดามารดาส่งไปให้นั่งอยู่ในวิหารนั่นแหละ
22,0033,004,บรรลุพระอรหัต ผู้นี้ไม่ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถมตน. แต่ผู้นี้เป็นผู้ชื่อว่ามี
22,0033,005,สักการะอย่างสูง. ผู้ใดเกิดในท้องของนางทาสี ประดับประดาชั้นที่สุดแม้แต่
22,0033,006,แหวนเงิน ไล้ทาด้วยเพียงท่อนผ้าและข้าวฟ่าง ถูกนำไปโดยพูดว่า จงให้เขา
22,0033,007,บวช ได้บรรลุพระอรหัตในขณะจรดปลายมีดโกน หรือในวันรุ่งขึ้น แม้ผู้นี้
22,0033,008,ก็ไม่ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถมตนที่ยังไม่ถูกทับถม.
22,0033,009,สุขอันเกิดแต่ปัจจัย ๔ ที่เกิดจากสงฆ์ หรือคณะ ชื่อว่า สุขอัน
22,0033,010,ชอบธรรม. บทว่า อนธิมุจฺฉิโต ได้แก่ ผู้ไม่หมกมุ่นด้วยความหมกมุ่น
22,0033,011,คือตัณหา. คือไม่พึงทำความอยากได้ในสุขนั้น ด้วยความหวังว่า เราจะไม่
22,0033,012,สละสุขอันชอบธรรม. จริงอยู่ ภิกษุกำหนดเอาสลากภัตหรือวัสสาวาสิกภัต
22,0033,013,อันเกิดจากสงฆ์ว่า นี้เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งแล้วบริโภคอยู่ในระหว่างพวก
22,0033,014,ภิกษุ ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรคและ
22,0033,015,ผล อุปมาเหมือนดอกบัวเจริญงอกงามอยู่ในระหว่างใบฉะนั้น. บทว่า อิมสฺส
22,0033,016,ได้แก่ เป็นมูลแห่งขันธ์ห้าอันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ทุกขฺนิทานสฺส ได้แก่
22,0033,017,ตัณหา. จริงอยู่ ตัณหานั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ คือ เบญจขันธ์. บทว่า สงฺขารํ
22,0033,018,ปทหโต คือ กระทำความเพียรในการประกอบกิจ. บทว่า วิราโค โหติ
22,0033,019,ได้แก่ ย่อมมีการคลายกิเลสด้วยมรรค. ท่านอธิบายว่า เราคลายเหตุแห่งทุกข์
22,0033,020,นี้ ด้วยการเริ่มตั้งความเพียร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
22,0033,021,ด้วยบทว่า เอวํ ปชานาติ นี้. ตรัสอาการที่เป็นกลาง ๆ แห่งความเพียรใน
22,0033,022,การประกอบกิจนั้นด้วยทุติยวาร. ในคำว่า โส ยสฺส หิ ขฺวาสฺส นี้ มีความ
22,0033,023,ย่อดังต่อไปนี้. บุคคลใด ย่อมคลี่คลายเหตุแห่งความทุกข์ด้วยการเริ่มตั้งความ