Book,Page,LineNumber,Text
23,0011,001,เนวสัญญานาสัญญายจนสัญญา ยังเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้เกิดด้วย
23,0011,002,วิปัสสนา ยังวิปัสสนาให้เกิดด้วยมรรค จักแสดงอัจจันตสุญญตาโดยลำดับ
23,0011,003,ฉะนั้น จึงเริ่มเทศนาอย่างนี้.
23,0011,004,ในบทเหล่านั้น บทว่า ปวีสญฺํ ความว่า เพราะเหตุไรจึงละ
23,0011,005,อรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. เพราะบรรลุคุณพิเศษด้วยอรัญญสัญญา.
23,0011,006,เปรียบเหมือนบุรุษเห็นที่นา ซึ่งน่ารื่นรมย์และที่นาตั้งเจ็ดครั้ง ด้วยคิดว่า
23,0011,007,ข้าวสาลีเป็นต้น ที่หว่านลงในนานี้ จักสมบูรณ์ด้วยดี เราจักได้ลาภใหญ่
23,0011,008,ข้าวสาลีเป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าเขาทำที่นั้น ให้ปราศจากหลักตอ
23,0011,009,และหนามแล้ว ไถ หว่าน เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าวสาลีย่อมสมบูรณ์ ฉันใดภิกษุ
23,0011,010,ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ใส่ใจป่านี้ให้เป็นอรัญญสัญญาถึงเจ็ดครั้งว่า นี้ป่า นี้ต้นไม้
23,0011,011,นี้ภูเขา นี้ไพรสนฑ์เขียวชะอุ่ม ย่อมบรรลุอุปจารสมาธิ. สำหรับ ปฐวีสัญญา
23,0011,012,ภิกษุนั้นกระทำปฐวีกสิณ บริกรรมให้เป็นกัมมัฏฐานประจำ ยังฌานให้เกิด
23,0011,013,เจริญวิปัสสนา ซึ่งมีฌานเป็นปทัฎฐาน สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้
23,0011,014,เพราะฉะนั้น เธอย่อมละอรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. บทว่า ปฏิจฺจ แปลว่า
23,0011,015,อาศัยกันเกิดขึ้น.
23,0011,016,บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อเปรียบเทียบปฐวีกสิณที่ภิกษุมีความสำคัญว่าปฐวี
23,0011,017,ในปฐวีกสิณ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
23,0011,018,อสุภสฺส เอตํ คือ โคผู้องอาจ ความว่า โคเหล่าอื่น ถึงจะมีฝีบ้าง รอย
23,0011,019,ทิ่มแทงบ้าง หนังของโคเหล่านั้น เมื่อคลี่ออก ย่อมไม่มีริ้วรอย ตำหนิเหล่านั้น
23,0011,020,ย่อมไม่เกิดแก่โคอุสภะ เพราะสมบูรณ์ด้วยลักษณะ. ฉะนั้น จึงถือเอาหนังของ
23,0011,021,โคอุสภะนั้น บทว่า สํกุสฺเตน ได้แก่ ขอร้อยเล่ม. บทว่า สุวิหตํ ได้แก่