Book,Page,LineNumber,Text
23,0029,001,โดยจีวรกิจ. บทว่า น โข อานนฺท ความว่า ดูก่อนอานนท์ กัมมสมัยก็ดี
23,0029,002,อกัมสมัยก็ดี จีวรกาลสมัยก็ดี อจีวรกาลสมัยก็ดี จงยกไว้ ภิกษุที่ยินดีด้วย
23,0029,003,การคลุกคลี ย่อมไม่งามเลย เธออย่าได้ช่วยเหลือ ในฐานะที่ไม่ควรช่วยเหลือ.
23,0029,004,บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคณิกา เป็นบทรวมบริษัทของตน. บทว่า
23,0029,005,คโณ เป็นบทรวมชนต่าง ๆ. ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุจะยินดีด้วยการคลุกคลี
23,0029,006,ก็ตาม ยินดีในคณะก็ตาม ยินดีในความหมายแน่นของหมู่ เกี่ยวเนื่องด้วยหมู่
23,0029,007,ย่อมไม่งามโดยประการทั้งปวง. แก่ภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ในเวลาหลังภัตร
23,0029,008,แล้วล้างมือเท้าสะอาด รับมูลกัมมัฏฐาน ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้มี
23,0029,009,อารมณ์เป็นหนึ่ง ย่อมงดงามในพระพุทธศาสนา.
23,0029,010,บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ความว่า สุขของภิกษุผู้ออกจากกามแม้จะเป็นสุข
23,0029,011,ที่เกิดแต่ความสงบ ก็จัดเป็นสุขเกิดแต่ความสงบจากกาม. ก็ที่ชื่อว่า อุปสมสุข
23,0029,012,เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า สัมโพธิสุข เพราะ
23,0029,013,อรรถว่า เป็นไปเพื่อรู้พร้อมซึ่งมรรค. บทว่า นิกามลาภี แปลว่า ได้ตาม
23,0029,014,ที่ต้องการ คือได้ตามที่ปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี แปลว่า ได้โดยไม่ยาก.
23,0029,015,บทว่า อกสิรลาภี แปลว่า ได้โดยง่าย. บทว่า สามายิกํ ได้แก่พ้นกิเลส
23,0029,016,เป็นคราว ๆ. บทว่า กนฺตํ แปลว่า เป็นที่ชอบใจ. บทว่า เจโตวิมุตตึ
23,0029,017,ได้แก่เจโตวิมุตติที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ฌาน ๔
23,0029,018,และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ จัดเป็นวิโมกข์ชั่วสมัย. บทว่า อสามายิตํ ความว่า
23,0029,019,พ้นจากกิเลสโดยไม่เนื่องด้วยสมัย. อัจจันตวิมุตติจัดเป็นโลกุตตระแท้. สมดัง
23,0029,020,ที่ตรัสไว้ว่า อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ นี้ จัดเป็นวิโมกข์ที่ไม่เป็นไปชั่วสมัย.
23,0029,021,บทว่า อกุปฺปํ แปลว่า ไม่ยังกิเลสให้กำเริบ. ตามที่อธิบายมานี้ ท่านกล่าว
23,0029,022,หมายถึงอะไร. ภิกษุที่ชอบคลุกคลีกันและผูกพันเป็นคณะ ย่อมไม่อาจจะ
23,0029,023,ยังโลกิยคุณและโลกุตตรคุณให้เกิดขึ้นได้. แต่ถ้าบรรเทาการอยู่เป็นคณะ ยินดี