Book,Page,LineNumber,Text 24,0016,001,ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ย่อมยังความ 24,0016,002,เป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธา 24,0016,003,สมบัติให้เจริญในพระพุทธศาสนา ดังนี้. 24,0016,004,

ว่าด้วย เอกํ สมยํ

24,0016,005,บทว่า เอกํ แสดงการกำหนดจำนวน. บทว่า สมยํ แสดงสมัย 24,0016,006,(คือ เวลา) ที่กำหนดไว้แล้ว. บทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยอันกำหนดไว้ไม่ 24,0016,007,แน่นอน. 24,0016,008,สมยศัพท์ ในบทว่า สมยํ นี้ ข้าพเจ้าเห็นใช้ในอรรถว่า ความ 24,0016,009,พร้อมเพรียงกัน ในอรรถว่าขณะ ในอรรถว่ากาลเวลา ในอรรถว่าประชุม ใน 24,0016,010,อรรถว่าเหตุและทิฏฐิ ในอรรถว่าได้เฉพาะ ในอรรถว่าละ ในอรรถว่า 24,0016,011,แทงตลอด 24,0016,012,จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นี้ มีอรรถว่าพร้อมเพรียงกัน เช่นในประโยค 24,0016,013,ว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ สมยญฺจ อุปาทาย 24,0016,014,ดังนี้เป็นต้น แปลว่า หากว่าพวกเราอาศัยกาลเวลา และความพร้อมเพรียงกัน 24,0016,015,ได้แล้ว ก็พึงเข้าไปในวันพรุ่งนี้. 24,0016,016,สมยศัพท์ มีอรรถว่าขณะ เช่นในประโยคว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว 24,0016,017,ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 24,0016,018,ก็ขณะหนึ่ง สมัยหนึ่ง มีอยู่เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. 24,0016,019,สมยศัพท์ มีอรรถว่า กาลเวลา เช่นในประโยคว่า อุณฺหสมโย 24,0016,020,ปริฬาหสมโย เป็นต้น แปลว่า เวลาร้อน เวลากระวนกระวาย. 24,0016,021,สมยศัพท์ มีอรรถว่าประชุม เช่นในประโยคว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ 24,0016,022,เป็นต้น แปลว่า ประชุมใหญ่ในป่าใหญ่.