Book,Page,LineNumber,Text 24,0047,001,จิตเหล่าใด ของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่ 24,0047,002,หรือกำลังตาย แตกดับไปแล้วในปวัตติ- 24,0047,003,กาลนี้ จิตเหล่านั้นทั้งหมด หาได้กลับมา 24,0047,004,เกิดอีกไม่ แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน. 24,0047,005,อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ 24,0047,006,จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺตฺติ ปรมตฺถิยา. 24,0047,007,เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่า 24,0047,008,ไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์ 24,0047,009,โลกก็ชื่อว่า เป็นอยู่ เพราะความแตกดับ 24,0047,010,แห่งจิต สัตว์โลก จึงชื่อว่า ตายแล้ว นี้ 24,0047,011,เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์. 24,0047,012,บทว่า ชรูปนตสฺส อธิบายว่า เมื่อบุคคลเข้าถึงชราแล้ว หรือว่า 24,0047,013,เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปสู่สำนักแห่งความตาย. บทว่า น สนฺติ ตาณา 24,0047,014,อธิบายว่า ใคร ๆ ชื่อว่าสามารถเพื่อจะให้ความป้องกัน คือ ให้ความปลอดภัย 24,0047,015,ให้เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ย่อมไม่มี. บทว่า เอตํ ภยํ ความว่า ภัยนี้มี ๓ อย่าง 24,0047,016,คือ การเข้าถึงความตายแห่งชีวิตินทรีย์ ความที่ชีวิตินทรีย์มีอายุเล็กน้อย และ 24,0047,017,ความที่ไม่มีเครื่องต้านทานของบุคคลผู้อันชราต้อนไปแล้ว อธิบายว่าเป็นที่ตั้ง 24,0047,018,แห่งภัย (ภยวตฺถุ) คือ เป็นเหตุแห่งภัย (ภยการณํ). บทว่า ปุญฺานิ กยิราถ 24,0047,019,สุขาวหานิ ได้แก่ วิญญชนพึงทำบุญทั้งหลายอัน นำความสุขมาให้ คืออัน 24,0047,020,ให้ซึ่งความสุข. ด้วยเหตุนี้นั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌาน จึงถือเอาบุพ- 24,0047,021,เจตนา มุญจนเจตนา และอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลาย ด้วยสามารถ