Book,Page,LineNumber,Text
29,0004,001,ความเสื่อมเพราะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิรชฺชติ ความว่า
29,0004,002,ย่อมคลายความยินดี ในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ในพระสูตร
29,0004,003,แม้นี้ ตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณา ตรัสการถูกต้องด้วยญาณ
29,0004,004,ในคาถาทั้งหลาย.
29,0004,005,จบ อรรถกถาสุขสูตรที่ ๒
29,0004,006,
๓. ปหานสูตร
29,0004,007,ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา ๓
29,0004,008,[๓๖๓] ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น
29,0004,009,ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
29,0004,010,เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
29,0004,011,พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยใน
29,0004,012,สุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุข-
29,0004,013,เวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัด
29,0004,014,ตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
29,0004,015,เพราะละมานะได้โดยชอบ.
29,0004,016,[๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมแก่ภิกษุผู้เสวยสุข
29,0004,017,เวทนาไม่รู้สึกตัวอยู่ มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น
29,0004,018,เครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวย
29,0004,019,ทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น
29,0004,020,เครื่องสลัดออก บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุข-