Book,Page,LineNumber,Text
32,0015,001,อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่กล่าวมาแล้วว่า ศัพท์ว่า เอวํ แสดงอาการ
32,0015,002,ต่าง ๆ ของจิตสันดาน ที่ถือเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ เพราะ
32,0015,003,จิตตสันดานเป็นไปต่าง ๆ กัน และจิตตสันดานนั้น ก็คืออาการอันงาม
32,0015,004,อย่างนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือแก่ผู้ไม่กระทำบุญไว้ใน
32,0015,005,ปางก่อน ฉะนั้น ด้วยคำว่า เอวํ นี้ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติ คือ
32,0015,006,จักรธรรม ๒ ข้อหลังของตนด้วยอาการอันงาม แสดงสมบัติ คือ
32,0015,007,จักรธรรม ๒ ข้อแรกโดยประกอบการฟังด้วยบทว่า สุตํ. เพราะผู้อยู่
32,0015,008,ในประเทศอันไม่สมควร และผู้เว้นจากการเข้าไปคบหาสัตบุรุษ
32,0015,009,การฟังก็ไม่มี ดังนั้น ท่านพระอานนท์นั้น จึงสำเร็จอาสยสุทธิ
32,0015,010,ความหมดจดแห่งอาสยะ เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม ๒ ข้อหลัง
32,0015,011,สำเร็จปโยคสุทธิ ความหมดจดแห่งการประกอบ เพราะความสำเร็จ
32,0015,012,แห่งจักรธรรม ๒ ข้อข้างต้น และท่านพระอานนท์ สำเร็จความ
32,0015,013,เชี่ยวชาญในอาคม (นิกายทั้ง ๕ ) ก็เพราะอาสยสุทธิ ความหมดจด
32,0015,014,แห่งอาสยะนั้น. สำเร็จความเชี่ยวชาญในอธิคม (มรรคผล) ก็เพราะ
32,0015,015,ปโยคสุทธิ ความหมดจดแห่งประโยค ดังนั้น คำของพระอานนท์ ผู้
32,0015,016,หมดจดด้วยประโยค การประกอบและ อาสยะอัธยาศัย ผู้ถึงพร้อม
32,0015,017,ด้วยอาคมและอธิคม จึงควรจะเป็นเบื้องต้น (ตัวนำ) แห่งพระดำรัส
32,0015,018,ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้นเป็นเบื้องต้นของอาทิตย์อุทัย
32,0015,019,และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เพราะ
32,0015,020,ฉะนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อตั้งนิทานวจนะ คำเริ่มต้นในฐานที่ควร
32,0015,021,จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
32,0015,022,อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงสภาวะแห่งสมบัติ คือ