Book,Page,LineNumber,Text 35,0027,001,ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติภวาภวเหตุ นี้เป็นนิบาตลงในอรรถว่าตัวอย่าง 35,0027,002,อธิบายว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้นเพราะความมีน้อยมีมากเป็นเหตุ เหมือนที่เกิดขึ้น 35,0027,003,เพราะมีจีวรเป็นต้น เป็นเหตุ ส่วนในบทว่า ภวาภโว นี้ประสงค์เอาเนยใส 35,0027,004,และเนยข้นเป็นต้นที่ประณีตและประณีตกว่ากัน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภพ 35,0027,005,ที่ประณีตกว่าและประณีตที่สุดในสัมปัตติภพดังนี้ก็มี. 35,0027,006,บทว่า ตณฺหาทุติโย ความว่า ก็สัตว์นี้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ 35,0027,007,ที่ตัวสัตว์เองไม่รู้จุดจบ มิใช่ท่องเที่ยวไปแต่ลำพังเท่านั้น ยิ่งได้ตัณหาเป็น 35,0027,008,เพื่อนท่องเที่ยวไปด้วย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ตณฺหาทุติโย ดังนี้ . ในบทว่า 35,0027,009,อิตฺถภาวญฺถาภาวํ นี้ได้แก่อัตภาพนี้ ชื่อว่า อิตถภาวะเป็นอย่างนี้ อัตภาพ 35,0027,010,ในอนาคต ชื่อว่าอัญญถาภาวะเป็นอย่างอื่น อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพแม้อื่นที่ 35,0027,011,เป็นอย่างนี้ ชื่อว่า อิตถภาวะเป็นอย่างนี้ ที่มิใช่เป็นอย่างนี้ ชื่อว่าอัญญถาภาวะ 35,0027,012,เป็นอย่างอื่น. ซึ่งเป็นอย่างนี้และอย่างอื่น. บทว่า สํสารํ ได้แก่ลำดับขันธ์ 35,0027,013,ธาตุ อายตนะ. บทว่า นาติวตฺตติ แปลว่า ไม่ล่วงพ้นไป. บทว่า เอตมาทีนวํ 35,0027,014,ตฺวา ความว่า ภิกษุรู้ถึงโทษในขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันอย่างนี้ 35,0027,015,แล้ว. บทว่า ตณฺหํ ทุกฺขสฺส สมฺภวํ ความว่า รู้ถึงตัณหาอย่างนี้ว่า 35,0027,016,ตัณหานี้ เป็นเหตุเกิด เป็นแดงเกิด เป็นเหตุแห่งวัฏทุกข์. ความที่ภิกษุนี้ 35,0027,017,เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ทรงแสดงด้วยเหตุประมาณเท่านี้ . บัดนี้ 35,0027,018,เมื่อทรงยกย่องภิกษุขีณาสพนั้น จึงตรัสว่า วิตฺตณฺโห เป็นอาทิ. บรรดาบท 35,0027,019,เหล่านั้น บทว่า อนาทาโน ได้แก่ ไม่ถือมั่น. บทว่า สโต ภิกฺขุ 35,0027,020,ปริพฺพเช ความว่า ภิกษุผู้ขีณาสพถึงความไพบูลย์ด้วยสติสัมปชัญญะ พึงมี 35,0027,021,สติสัมปชัญญะเที่ยวไปอยู่. ดังนั้น ในสูตรตรัสถึงวัฏฏะ ในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะ 35,0027,022,ทั้งวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) ด้วยประการฉะนี้. 35,0027,023,จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๙