Book,Page,LineNumber,Text 35,0032,001,บทว่า กาเมสุ คือ ในวัตถุกาม. บทว่า กามราโค คือราคะ 35,0032,002,เกิดเพราะปรารภกาม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า อนุเสติ คือ 35,0032,003,บังเกิด. พึงทราบเนื้อความในบททุกบทอย่างนี้ว่า บทว่า อยํ วุจฺจติ 35,0032,004,ภิกฺขเว กามโยโค ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า เหตุแห่งการ 35,0032,005,ประกอบเครื่องผูกสัตว์ไว้ในกาม. บทว่า ผสฺสายตนานํ ได้แก่ เหตุมีจักขุ- 35,0032,006,สัมผัสเป็นต้น สำหรับอายตนะทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น. บทว่า อวิชฺชา 35,0032,007,อญฺานํ ความว่า อวิชชาคือความไม่รู้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ 35,0032,008,อิติศัพท์ ในบทนี้ว่า อิติกามโยโค พึงประกอบกับโยคะแม้ทั้ง ๔ ว่า 35,0032,009,กามโยคะดังนี้ ภวโยคะ ดังนี้เป็นต้น 35,0032,010,บทว่า สมฺปยุตตฺโต ได้แก่ ผู้ห้อมล้อมแล้ว. บทว่า ปาปเกหิ 35,0032,011,ได้แก่ ที่ลามก. บทว่า อกุสเลหิ ได้แก่ เกิดแต่ความไม่ฉลาด. บทว่า 35,0032,012,สงฺกิเลสิเกหิ คือมีความเศร้าหมอง อธิบายว่า ประทุษร้ายความผ่องใส 35,0032,013,แห่งจิตที่ผ่องใสแล้ว. บทว่า โปโนพฺภวิเกหิ ได้แก่ เป็นเหตุให้เกิดใน 35,0032,014,ภพใหม่. บทว่า สทเรหิ ได้แก่ มีความเร่าร้อน. บทว่า ทุกฺขวิปาเกหิ 35,0032,015,ได้แก่ ให้ทุกข์เกิดขึ้นในเวลาให้ผล. บทว่า อายตึชาติชรามรณิเกหิ ได้แก่ 35,0032,016,ให้เกิดชาติ ชรา มรณะในอนาคตบ่อย ๆ. บทว่า ตสฺมา อโยคกฺเขมีติ 35,0032,017,วุจฺจติ ความว่า ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้ละโยคะยังไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ประกอบ 35,0032,018,ด้วยธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อโยคักเขมี ไม่เกษมจากโยคะเพราะ 35,0032,019,เขายังไม่บรรลุพระนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔ เหล่านั้น. 35,0032,020,บทว่า วิสํโยคา คือเหตุแห่งความคลายโยคะกิเลสเครื่องผูก. บทว่า 35,0032,021,กามโยควิสํโยโค คือเหตุแห่งความคลายกามโยคะ. แม้ในบทที่เหลือก็มี 35,0032,022,นัยนี้แล. บรรดาบทเหล่านั้น การเพ่งอสุภกัมมัฏฐาน เป็นการคลายกามโยคะ