Book,Page,LineNumber,Text
39,0033,001,ตัวและคุณเสมอกัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายาม
39,0033,002,อ่อนและมีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า แม้ในสิกขาบทที่เหลือ
39,0033,003,ก็นัยนี้ อนึ่ง ในข้อนี้ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษมาก
39,0033,004,ปาณาติบาตเป็นต้น หามีโทษมากเช่นนั้นไม่ เพราะอะไร เพราะทำอันตราย
39,0033,005,แก่อริยธรรม เหตุทำผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นคนบ้า ในข้อนี้ พึง
39,0033,006,ทราบวินิจฉัย แม้โดยความมีโทษมาก ด้วยประการฉะนี้.
39,0033,007,เมื่อว่าโดยประโยค ก็ในข้อนี้ ปาณาติบาตมี ๖ ประโยคคือ
39,0033,008,สาหัตถิกประโยค อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค ถาวรประโยค
39,0033,009,วิชชามยประโยค อิทธิมยประโยค.
39,0033,010,บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย
39,0033,011,ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค สาหัตถิกประโยคนั้น แยกเป็น ๒ คือ สาหัต-
39,0033,012,ถิกประโยคเจาะจงและสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจง. ในสาหัตถิกประโยคทั้งสอง
39,0033,013,นั้น เฉพาะสาหัตถิกประโยคเจาะจงบุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรม เพราะความ
39,0033,014,ตายของคนที่ไปเจาะจงประหารเท่านั้น. ในสาหัตถิกประโยคไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า
39,0033,015,ผู้ใดผู้หนึ่งจงตายเสียเถิดดังนี้ บุคคลย่อมผูกพันด้วยกรรมเพราะความตายของ
39,0033,016,คนใดคนหนึ่ง เหตุการประหารเป็นปัจจัย. อนึ่ง แม้ด้วยสาหัตถิกประโยคทั้ง
39,0033,017,สอง เขาพอถูกประหารก็ตาย หรือตายด้วยโรคนั้นในภายหลัง บุคคลก็ย่อมผูก
39,0033,018,พันอยู่ด้วยกรรม ขณะที่เขาถูกประหารเท่านั้น แต่เมื่อบุคคลประหารด้วย
39,0033,019,ประสงค์จะให้เขาตาย แต่เขาไม่ตายด้วยการประหารนั้น กลับคิดประหารเขา
39,0033,020,อีก ผิว่า แม้ในภายหลังเขาตายด้วยการประหารครั้งแรก บุคคลก็ย่อมผูกพัน
39,0033,021,ด้วยกรรมในเวลานั้นเท่านั้น ถ้าว่าเขาตายด้วยการประหารครั้งที่สอง ก็ไม่เป็น
39,0033,022,ปาณาติบาต แม้เมื่อเขาตายด้วยสาหัตถิกประโยคทั้งสอง บุคคลก็ผูกพันด้วย